Page 133 - kpiebook65010
P. 133

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                                ๏ พิจารณาเบื้องต้นว่าจะเกิดผลข้างเคียง (collateral effects) และผลที่
                                  เกิดโดยไม่ได้คาดหมาย (unintended consequences) ใดหรือไม่

                                  เพราะผลเหล่านี้อาจส่งผลกระทบ โดยอาจจะต้องพิจารณาผลกระทบใน
                                  เชิงพื้นที่หากมีการดำเนินนโยบายหรือกฎหมายในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง หรือ

                                  กลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ตลอดจนผลกระทบที่อาจเกิดด้านความเท่าเทียม
                                  ในสังคมหรือเกิดผลกระทบต่อสถานะของบุคคลในครอบครัวหรือไม่  191

                                ๏ ควรทำการระบุในขั้นตอนนี้เท่าที่สามารถทำได้ว่าร่างกฎหมายจะส่งผล

                                  ให้เกิดการกระจายรายได้อย่างมีนัยสำคัญ (significant income
                                  distribution effects) หรือไม่ และผลดังกล่าวถือเป็นเป้าหมายหลักหรือ

                                  ผลข้างเคียงที่จะเกิดจากร่างกฎหมายหรือไม่ โดยอาจมีการระบุกลุ่มบุคคล
                                  ที่อาจได้รับผลในด้านการกระจายรายได้  192

                                ๏ พิจารณาว่าร่างกฎหมายจะก่อให้เกิดการสร้างตลาดใหม่ (market

                                  creation) ผลกระทบต่อกลไกการทำงานของตลาดปัจจุบัน (market
                                  functioning) หรือจะก่อให้เกิดผลต่อการแข่งขัน (ในระบบตลาดหรือไม่)

                                  (competition effect) หรือไม่  193

                                ๏ ดำเนินการวิเคราะห์โดยอาจใช้การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (workshop)

                                  โดยระดมความคิดเห็นจากบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์เพื่อทบทวน
                                  การวิเคราะห์ longlist และเริ่มการจัดทำ shortlist appraisal โดย
                                  การวิเคราะห์ (เฉพาะต้นทุนและผลประโยชน์ที่ตีค่าหรืออาจคำนวณ

                                  เป็นเงินได้) จะเป็นการกะประมาณต้นทุนและผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น
                                  โดยอาศัยแนวคิดที่เรียกว่า “Do Minimum” ซึ่งเป็นการกะวิเคราะห์

                                  ผลกระทบโดยไม่พิจารณาว่าจะมีปัจจัยบวก (opportunities) ที่เพิ่ม
                                  เข้ามาหรือไม่  194





                    191   รายละเอียดเพิ่มเติมดู ibid, paragraphs 4.15- 4.18.
                    192   รายละเอียดเพิ่มเติมดู ibid, paragraph 4.19.

                    193   รายละเอียดเพิ่มเติมดู ibid, paragraphs 4.20- 4.23.

                    194   รายละเอียดเพิ่มเติมดู ibid, paragraphs 4.24- 4.26.

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     121
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138