Page 136 - kpiebook65010
P. 136
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
1) ขอบเขตของต้นทุนและผลประโยชน์
การพิจารณามูลค่าของข้อเสนอที่มีขึ้นเพื่อใช้บังคับในสหราชอาณาจักรนั้น
จะใช้มุมมองความคิดทางสังคมของสหราชอาณาจักรในภาพรวมทั้งหมด แต่หากเป็นการดำเนิน
นโยบายเฉพาะเจาะจงในพื้นที่หนึ่ง (place based policy) หรือเป็นนโยบายของสหราชอาณาจักร
ซึ่งให้ผลเฉพาะในแต่ละพื้นที่ การกำหนดมูลค่าที่เกี่ยวข้องนั้นจะพิจารณาทั้งจากผลกระทบที่เกิดใน
พื้นที่นั้นและพื้นที่ในเขต travel to work areas ทั้งนี้ บรรดาต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
200
จากมาตรการแทรกแซงนั้นจะต้องมีการประเมินมูลค่าและนำมาเป็นข้อพิจารณาด้วยวิธีการ
Social CBA เสมอ เว้นแต่จะมีเหตุผลอันสมควรที่ทำให้ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ โดยค่าที่ต้องชี้วัด
หรือกำหนดขึ้นให้ได้เป็นประการแรกนั้น ได้แก่ ค่าของปัจจัยชี้วัดที่จะช่วยในการตัดสินใจว่า
จากทางเลือกในการดำเนินการที่มีอยู่หลายประการนั้น ควรใช้ทางเลือกใดเป็นหลัก นอกจากนี้
การประเมินมูลค่าทางสังคมยังต้องมีการคำนวณหาค่า Net Present Social Value (NPSV) และ
ค่าอัตราส่วนระหว่างผลประโยชน์กับต้นทุนที่เรียกว่า Benefits Costs Ratios (BCRs) ด้วย 201
เมื่อกล่าวถึงสังคมของสหราชอาณาจักร โดยทั่วไปย่อมหมายความถึงผู้คน
ที่มีสถานะเป็นประชากรของสหราชอาณาจักรเองรวมไปถึงผู้อยู่อาศัยชั่วคราวด้วย ในบางกรณี
การประเมินมูลค่าต้องพิจารณาไปถึงต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในกลุ่มคนที่อาศัยอยู่นอก
สหราชอาณาจักรด้วย เช่น เจ้าหน้าที่ที่ไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ นอกจากนี้ การประเมิน
กิจกรรมบางอย่างที่ก่อให้เกิดผลในประเทศอื่น เช่น กิจการของ Official Development
Assistance (ODA) ที่มีลักษณะของการสนับสนุนทางการให้งบประมาณช่วยเหลือกิจการใน
ประเทศอื่นนั้น จะต้องมีการนำเอาผลกระทบที่เกิดขึ้นในประเทศที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ
มาพิจารณาประกอบด้วย 202
200 Travel to work areas เป็นเครื่องมือในทางสถิติที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรกำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์
ในการประเมินข้อมูลด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้แรงงาน มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ที่แสดงถึง
พื้นที่ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ชีวิตของผู้คนทั้งในแง่การอยู่อาศัยและการทำงาน หน่วยงานของสหราชอาณาจักรมักนำ
ข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทางสถิติในแง่มุมอื่น ๆ เสมอ รายละเอียดดู UK Office for National Statistics , ‘Travel
to work area analysis in Great Britain’ (2016) <www.ons.gov.uk/employmentandlabourmarket/
peopleinwork/employmentandemployeetypes/articles/traveltoworkareaanalysisingreatbritain/2016>
เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2564.
201 Green Book (n 4) paragraph 5.7.
202 ibid, paragraph 5.8.
สถาบันพระปกเกล้า
124