Page 137 - kpiebook65010
P. 137
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
การตัดสินใจดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับรายจ่ายรายการหนึ่งนั้น
การประเมินผลจะพิจารณาภายใต้บริบทของงบประมาณที่กำหนดไว้ก่อนแล้ว ซึ่งประเด็น
ที่เกี่ยวข้องกับรายจ่ายสาธารณะภาพรวมนั้นจะเป็นการพิจารณาในระดับมหภาค (macro-level)
ที่มีบริบทแยกต่างหากจากการตัดสินใจในรายการใช้จ่ายแต่ละรายการ ดังนั้น ประเด็นในระดับ
มหภาค เช่น ต้นทุนอันเกิดจากการก่อหนี้สาธารณะหรือผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีจะไม่ถูก
หยิบยกมาพิจารณาในขั้นของการกำหนดทางเลือกในการดำเนินการอีก
รายการต้นทุนและผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นในการประเมินมูลค่าทาง
สังคมนั้น อาจมีได้ตามตัวอย่างต่อไปนี้
รายการต้นทุนในการประเมินมูลค่าทางสังคม 203
c ผลรวมต้นทุนโดยตรงในภาครัฐ (สำหรับหน่วยงานต้นเรื่อง)
° ทุน (capital)
° รายได้ (revenue)
c ผลรวมต้นทุนโดยอ้อมในภาครัฐ (สำหรับหน่วยงานรัฐอื่น)
° ทุน
° รายได้
c ต้นทุนที่เกิดขึ้นภายในสังคมของสหราชอาณาจักร:
° ต้นทุนที่คำนวณเป็นเงินได้ รวมถึงต้นทุนที่เป็นเงินสด
(monetizable including cash costs)
° ต้นทุนที่วัดจำนวนได้แต่ไม่อาจตีราคาเป็นเงินได้
(quantifiable but unmonetizable costs)
° ต้นทุนเชิงคุณภาพที่ไม่สามารถวัดจำนวนได้
(qualitative unquantifiable costs)
° ต้นทุนเกี่ยวกับความเสี่ยงทั้งหมด:
(ต้นทุนที่ใช้เพื่อหลีกเลี่ยงหรือจัดการความเสี่ยง)
° ความโน้มเอียงเพราะอคติจากการคิดในแง่ดี
(optimism bias) (ลดลงหากมีการประมาณการความเสี่ยงไว้แล้ว)
c ต้นทุนความเสี่ยงที่ประมาณการไว้หรือวัดได้ (estimated or measured risk cost)
203 ibid, paragraph 5.10.
สถาบันพระปกเกล้า
125