Page 225 - kpiebook65010
P. 225

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               หรือทางนโยบาย เช่น EU กำหนดให้ทำ RIA กับการดำเนินการที่มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบอย่างมี
               นัยสำคัญด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม หรือสังคม สหราชอาณาจักรกำหนดให้ทำ RIA กับข้อเสนอ

               กฎหมายและนโยบายที่จะส่งผลกระทบต่อการจัดทำบริการสาธารณะ (public services)
               ความเป็นอยู่ของประชาชน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ไอร์แลนด์กำหนดให้ทำ RIA เต็มรูปแบบ

               เฉพาะกฎหมายที่จะส่งผลกระทบอย่างสำคัญ และนิวซีแลนด์กำหนดไว้ให้ต้องทำ RIA กับ
               ร่างกฎหมายและกฎหมายลำดับรองทุกฉบับ เว้นแต่ ร่างเหล่านั้นไม่ส่งผลกระทบหรือส่งผลกระทบ
               เพียงเล็กน้อยต่อภาคธุรกิจ ประชาชนและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรหรือกรณีเข้าข้อยกเว้น

               ด้วยเหตุผลทางเทคนิคหรือกรณีที่กระทรวงการคลังเห็นว่าไม่ต้องทำ เป็นต้น
                                                                             332
                      4.  มีการจำแนกประเภทหรือกำหนดขอบเขตของผลกระทบหรือกำหนดตัวอย่าง

               ที่ต้องวิเคราะห์หรือไม่

                        ในข้อพิจารณาประการนี้ หากพิจารณาจากแนวทางการกำหนดในบทก่อน ๆ
               จะพบว่าแนวทางของไทยค่อนข้างมีความชัดเจนที่สุดเนื่องจากมีการกำหนดให้การทำ RIA

               ต้องวิเคราะห์ผลกระทบอย่างน้อย 6 ประเภท ได้แก่ “ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายในด้าน
               การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ หรือผลกระทบในทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม หรือ

               ผลกระทบอื่นที่สำคัญ” เอาไว้อย่างชัดเจนในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ  ในขณะที่แนวทาง
                                                                             333
               ต่างประเทศนั้น มีทั้งกลุ่มที่ไม่ได้กำหนดประเภทหรือขอบเขตของผลกระทบหรือตัวอย่าง
               ผลกระทบที่ต้องวิเคราะห์เลย เช่น EU และนิวซีแลนด์ ในขณะที่สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์

                                                                   334
               และไอร์แลนด์กำหนดกลุ่มผลกระทบที่จะต้องพิจารณาเอาไว้  แต่เป็นการกำหนดในแนวทาง
               ดำเนินการที่ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายดังเช่นแนวทางของไทย


                      5.  มีการกำหนดขั้นตอนย่อย ๆ และแนวทางของขั้นตอนย่อยของการวิเคราะห์
               ผลกระทบหรือไม่


                        แม้ว่าไทยดูจะมีความชัดเจนกว่าแนวทางของต่างประเทศในด้านการกำหนดกรอบ
               ผลกระทบที่จะต้องทำการวิเคราะห์ดังที่ได้อภิปรายผลในหัวข้อก่อน แต่หากพิจารณาในแง่
               การกำหนดขั้นตอนย่อย ๆ และแนวทางของขั้นตอนย่อยของการวิเคราะห์ผลกระทบนั้นแทบไม่

               ปรากฏรายละเอียดเลย โดยปรากฏรายละเอียดเพียงเรื่องหัวข้อที่จะต้องอธิบายในรายงาน RIA


                    332   ดูรายละเอียดในหัวข้อ 3.3.1 ของบทที่ 3 และหัวข้อ 4.1.1 หัวข้อ 4.2.1 และหัวข้อ 4.4.2 ของบทที่ 4
                    333   ดูรายละเอียดในหัวข้อ 2.2.3 ของบทที่ 2

                    334   ดูรายละเอียดในหัวข้อ 4.1.4 หัวข้อ 4.2.3.1  และหัวข้อ 4.3.3.1  ของบทที่ 4

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     213
   220   221   222   223   224   225   226   227   228   229   230