Page 281 - kpiebook65010
P. 281
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ประเทศ แนวทางการวิเคราะห์ วิธีการวิเคราะห์
๏ กำหนดให้มีการกลั่นกรองร่างกฎหมายและระเบียบที่ต้องทำ RIA ๏ ในกรณีที่ต้นทุนและ
ก่อน โดยหากร่างฯ ดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบหรือส่งผลกระทบ ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจาก
เพียงเล็กน้อยต่อภาคธุรกิจ ประชาชนและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ทางเลือกหนึ่งมีลักษณะ
หรือกรณีเข้าข้อยกเว้นก็ไม่ต้องทำการวิเคราะห์ผลกระทบ ที่ต่อเนื่องไปเป็นเวลาหลายปี
๏ ข้อพิจารณาพื้นฐานของการวิเคราะห์ผลกระทบคือ พิจารณาว่า ควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนค่า
ผู้ได้รับผลกระทบเป็นใคร ผลกระทบนั้นมีลักษณะอย่างไร และ ให้มีลักษณะเป็นมูลค่าสุทธิ
ระดับของผลกระทบนั้นมีมากน้อยเพียงใด ที่เป็นปัจจุบัน
๏ การพิจารณาระดับของผลกระทบ ให้พยายามตีมูลค่าเป็นเงินให้ได้ (Net Present Value :NPV)
มากที่สุด หากไม่สามารถทำได้ ให้ระบุถึงระดับของผลกระทบ
ดังกล่าว (มาก ปานกลาง น้อย)
๏ RIA ทุกฉบับจะต้องมีการประเมินคุณภาพโดยผู้ประเมินคุณภาพ
ที่เป็นอิสระ ซึ่งอาจเป็นผู้ประเมินคุณภาพที่หน่วยงานของรัฐจัดหา
มาเอง หรือเป็นการประเมินคุณภาพโดยหน่วยงานที่เรียกว่า
Regulatory Quality Team ของกระทรวงการคลังก็ได้
๏ กำหนดให้นำเอาเทคนิคในการกำหนดมูลค่าด้วยการวิเคราะห์ต้นทุน
และผลประโยชน์มาใช้ตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดปัญหาและระดับ
ความมีอยู่ของปัญหาซึ่งเป็นขั้นตอนก่อนการวิเคราะห์ผลกระทบ
๏ ในชั้นของการกำหนดทางเลือกควรเริ่มต้นจากการพิจารณาทางเลือก
ในการดำเนินการที่เป็นไปได้ทั้งหมด ทั้งทางเลือกที่เป็นการคงสถานะ
ของเรื่องไว้เช่นเดิม (ทางเลือกที่จะไม่ดำเนินการใด ๆ ) ทางเลือก
ที่เป็นการออกกฎระเบียบ และทางเลือกที่ไม่ใช่การออกกฎระเบียบ
๏ ในกรณีที่ปัญหาพื้นฐานมีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงบางประการ
ต้องมีการระบุปัจจัยเสี่ยงนั้นเอาไว้ให้ชัดเจนด้วย และการวิเคราะห์
ทางเลือกจะต้องมีการอธิบายถึงกรณีที่ความเสี่ยงเหล่านั้น
๏ ในขั้นตอนการวิเคราะห์ต้นทุน ผลประโยชน์ และความเสี่ยงของทาง
เลือกแต่ละทาง ต้องแสดงให้เห็นว่าทางเลือกในการดำเนินการแต่ละ
ทางนั้นจะทำให้สถานการณ์ที่เป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
และในบรรดาทางเลือกเหล่านั้น ทางเลือกใดเป็นทางเลือกที่มี
ประสิทธิภาพสูงสุดในการแก้ปัญหา หรือทางเลือกใดที่ให้
ผลประโยชน์สุทธิมากที่สุด
๏ ในขั้นตอนการกำหนดขอบเขตของผลกระทบ ไม่ได้มีการแยก
ผลกระทบทางสังคมออกมาต่างหากเหมือนไทย โดยแบ่งประเภทของ
ผลกระทบออกเป็น ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ต้นทุนทางงบประมาณ
ที่หน่วยงานต้องแบกรับ และต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
๏ มีการกำหนดแนวทางการวิเคราะห์ในประเด็นเรื่องกลุ่มบุคคลที่ได้รับ
ผลกระทบ โดยอาจเป็นการพิจารณารายบุคคล ครอบครัวหรือ
ครัวเรือน ผู้บริโภค ลูกจ้าง หน่วยธุรกิจ ประชากรในภูมิภาคหนึ่ง
กลุ่มของประชากรที่จำแนกตามลักษณะเฉพาะต่าง ๆ เช่น เชื้อชาติ
เพศ อายุ เป็นต้น หรืออาจพิจารณาจากการใช้ทรัพยากร เช่น
กลุ่มชาวประมง กลุ่มผู้ใช้ถนน เป็นต้น โดยจำเป็นจะต้องพิจารณา
ถึงผลในเรื่องของการแข่งขันกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน
นั้นด้วย
สถาบันพระปกเกล้า
269