Page 286 - kpiebook65010
P. 286
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ให้ระบุถึงระดับของผลกระทบดังกล่าว (มาก ปานกลาง น้อย) ไม่ควรใช้เหตุผลว่า
ผลกระทบด้านใดด้านหนึ่งไม่สามารถตีค่าเป็นตัวเลขได้มาเป็นเหตุผลใน
การไม่คำนึงถึงผลกระทบเรื่องนั้น
17. การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ในประเด็นนี้ เสนอว่า กรณีที่ไม่สามารถวิเคราะห์
ผลกระทบในเชิงปริมาณได้ ควรมีการวิเคราะห์ผลกระทบในเชิงคุณภาพโดยควร
เหตุผลด้วยว่าเหตุใดจึงไม่สามารถวิเคราะห์ในเชิงปริมาณได้ โดยควรวิเคราะห์
เชิงคุณภาพอย่างรอบคอบและเคร่งครัดโดยให้ความสำคัญกับการอธิบายว่า
ทางเลือกที่ทำการวิเคราะห์จะส่งผลในทางปฏิบัติต่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียอย่างไร
18. การวิเคราะห์นัยยะในด้านพฤติกรรม ในประเด็นนี้ เสนอว่า ควรคำนึงถึง
แนวโน้มพฤติกรรมของผู้ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่จะมีการกำหนดขึ้นด้วย
ว่าเขาเหล่านั้นจะมีความสมัครใจที่จะปฏิบัติตามมากน้อยเพียงใดโดยให้
ความสำคัญกับการกำหนดมาตรการที่สามารถปฏิบัติตามได้ง่าย
19. การแจกแจงและสรุปผลกระทบ ในประเด็นนี้ เสนอว่า ควรแจกแจงหรือสรุป
บรรดาผลกระทบทางลบและทางบวกโดยแสดงระดับ ความเป็นไปได้และบุคคล
ที่อาจได้รับผลกระทบให้ชัดเจน
20. การระบุข้อจำกัดของข้อสรุปการวิเคราะห์ ในประเด็นนี้ เสนอว่า ควรมีการระบุ
ให้เห็นถึงข้อจำกัดของข้อสรุปและการวิเคราะห์ด้วย รวมทั้งมีการจำแนกแยกแยะว่า
ข้อมูลใดเป็นข้อเท็จจริงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญและความเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย
3.2.2 เทคนิควิธีการวิเคราะห์
7. การแนะนำเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ผลกระทบ ในประเด็นนี้ เสนอว่า ควรมี
การแนะนำเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ผลกระทบด้วย เช่น การวิเคราะห์แบบ cost-
benefit analysis (CBA) การวิเคราะห์แบบ cost-effectiveness analysis
(CEA) และการวิเคราะห์แบบ multi-criteria analysis เป็นต้น
8. การประมวลสาระสำคัญของเทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบ ในประเด็นนี้
เสนอว่า ควรมีการจัดทำสรุป ตัวอย่างหรือประมวลรวมเทคนิคการวิเคราะห์
ผลกระทบ เช่น ที่มีการดำเนินการใน EU, UK, Netherlands, และ Ireland
สถาบันพระปกเกล้า
274