Page 285 - kpiebook65010
P. 285
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
3.2 ข้อเสนอเบื้องต้นเพื่อพัฒนากระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบในประเทศไทย
จากการศึกษาบทเรียนและแนวทางการดำเนินการของ EU และ 4 ประเทศโดย
เปรียบเทียบกับการทำ RIA ของไทยในหัวข้อก่อน อาจสรุปบทเรียนได้ว่าไทยสามารถเรียนรู้
ประสบการณ์จากต่างประเทศเพื่อพัฒนาระบบการวิเคราะห์ผลกระทบจากการตรากฎหมายของ
ไทยในหลายประเด็นด้วยกัน โดยในหัวข้อนี้จะนำเสนอข้อเสนอเบื้องต้นว่ามีประเด็นเรื่องใดบ้าง
ที่ควรมีการพัฒนาแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบจากการตรากฎหมายของไทย โดยแบ่ง
ข้อเสนอเป็นสองส่วน ได้แก่ข้อเสนอในส่วนที่เกี่ยวกับแนวทางการวิเคราะห์และในส่วนที่เกี่ยวกับ
เทคนิควิธีการวิเคราะห์
3.2.1 แนวทางการวิเคราะห์
11. การระบุทางเลือกและวิเคราะห์ผลกระทบแต่ละทางเลือก ในประเด็นนี้ เสนอว่า
ควรมีการระบุทางเลือกเพื่อแจกแจงทางเลือกดำเนินการแก้ปัญหา และ
ควรวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของทางเลือกแต่ละทางเมื่อเทียบกับสภาพการณ์
เรื่องนั้นใน
12. ทางเลือกย่อย ในประเด็นนี้ เสนอว่า ควรพิจารณาด้วยว่าในแต่ละทางเลือก
มีทางเลือกย่อย ๆ อีกหรือไม่
13. การพิจารณาความได้สัดส่วนของขอบเขต ความลึกและระดับความสำคัญของ
ผลกระทบ ในประเด็นนี้ เสนอว่า ขอบเขตและความลึกของการวิเคราะห์จะต้อง
ได้สัดส่วนและสอดคล้องกับระดับความสำคัญและประเภทของข้อเสนอกฎหมาย
ที่จะทำการวิเคราะห์ และสอดคล้องกับระดับความสำคัญของผลกระทบด้วย
14. การกำหนดและพิจารณาผลกระทบสำคัญ ในประเด็นนี้ เสนอว่า ควรพิจารณา
บรรดาผลกระทบทุกด้านที่สำคัญโดยยังไม่จำเป็นต้องคำนึงว่าจะสามารถ
วิเคราะห์ผลกระทบนั้นโดยละเอียดได้หรือไม่
15. ผลกระทบทางอ้อม ในประเด็นนี้ เสนอว่า หากมีผลกระทบทางอ้อมเกิดขึ้นก็ควร
มีการวิเคราะห์ผลกระทบประเภทนี้ด้วย ซึ่งอาจเป็นผลกระทบด้านบวกหรือ
ด้านลบที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ
16. การวิเคราะห์เชิงปริมาณ ในประเด็นนี้ เสนอว่า การพิจารณาระดับของ
ผลกระทบ ควรพยายามตีมูลค่าเป็นเงินให้ได้มากที่สุด หากไม่สามารถทำได้
สถาบันพระปกเกล้า
273