Page 290 - kpiebook65010
P. 290
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
จากเนื้อหาดังกล่าวข้างต้น ทำให้เห็นได้ว่าในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบ
นั้น “ควรจะต้อง” มีการกล่าวถึงมาตรการทางเลือกอื่น ๆ นอกจากการออกกฎหมายด้วย
ซึ่งหมายความรวมทั้ง “มาตรการที่ใช้อยู่แล้ว” และ “มาตรการอื่นที่อาจนำมาใช้ได้” แต่ด้วยการที่
ไม่ได้ระบุว่าหน่วยงานจะต้องอธิบายถึง “ทางเลือก” และ “ผลกระทบของทางเลือกอื่น” ให้ชัดเจนนี้
ทำให้รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมายที่พบเห็นทั่วไปมักจะให้น้ำหนักกับการวิเคราะห์
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก “มาตรการที่เป็นการออกกฎหมาย” ตามข้อเสนอของหน่วยงานเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมายในร่าง
พระราชบัญญัตินี้ ได้มีการกล่าวถึง “ทางเลือก” ในการดำเนินการเอาไว้เป็น 3 แนวทาง ได้แก่
(4) ทางเลือกที่ 1 ไม่ทำอะไรเลย
(5) ทางเลือกที่ 2 ใช้กลไกการบริหารโดยการจัดการฝึกอบรมผู้ฝึกสอน
กีฬาหรือผู้ตัดสินกีฬา หรือการรับรองหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ฝึกสอน
กีฬาหรือผู้ตัดสินกีฬา
(6) ทางเลือกที่ 3 ใช้กลไกตามร่างกฎหมายฉบับนี้
การกล่าวถึงทางเลือกที่ 1 คือ การไม่ทำอะไรเลยนั้น ถือเป็นแนวคิดที่มี
ความสำคัญต่อการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมายเป็นอย่างมาก เนื่องจาก
เป็นการระบุถึงฐานที่ใช้สำหรับเปรียบเทียบว่ามาตรการแทรกแซงที่รัฐนำมาใช้นั้นจะส่งผลให้เกิด
ความเปลี่ยนแปลงจากสถานะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างไร อันจะนำมาซึ่งคำตอบว่า การออก
กฎหมายนั้นมีความจำเป็นหรือไม่ หรือให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับต้นทุนที่ต้องใช้หรือไม่ การกล่าว
ถึงทางเลือกโดยการไม่ทำอะไรเลยในที่นี้ ยังเป็นข้อที่แสดงให้เห็นว่า ข้อสรุปของหน่วยงานที่เสนอ
กฎหมายในลักษณะที่ว่า “ไม่มีทางเลือกอื่น” นอกจากการเสนอกฎหมายนั้น เป็นข้อสรุปที่ไม่ถูกต้อง
เพราะ “การเลือกที่จะไม่ทำอะไรเลย” ก็เป็นทางเลือกประการหนึ่งเช่นกัน
ในส่วนของการกล่าวถึงทางเลือกที่ 2 ซึ่งเข้าใจได้ว่าหน่วยงานพยายาม
อธิบายถึงกลไกที่ไม่ใช่การออกกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เนื้อหาที่กล่าวถึงในทางเลือกที่ 2 นี้
ไม่ปรากฏว่ามีส่วนที่แสดงถึง “มาตรการแทรกแซงของรัฐ” อยู่เลย แม้จะเอ่ยถึง “กลไก
การบริหาร” อยู่ด้วย แต่ก็ไม่ได้มีการอ้างไปถึงว่า รัฐจะเข้าไปดำเนินการอย่างไรให้ระบบที่มีอยู่
แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งจะมีต้นทุนและผลตอบแทนเปลี่ยนไปจากสถานะที่เป็นอยู่ การกล่าวถึง
ทางเลือกอื่นโดยไม่แสดงรายละเอียดของมาตรการแทรกแซงของรัฐให้เห็นเลยเช่นนี้ ย่อมไม่
แตกต่างไปจากทางเลือกที่ 1 คือ การไม่ทำอะไรเลย
สถาบันพระปกเกล้า
278