Page 69 - kpiebook65010
P. 69

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               ขั้นตอนที่ควรดำเนินการเมื่อต้องมีการจัดทำนโยบายเพราะ RIA เรียกร้องให้มีการนำเสนอหลักฐาน
               ที่แสดงข้อดีข้อเสียของทางเลือกนโยบายโดยพิจารณาจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (potential

               impacts) นอกจากนี้ กลไกของ RIA ยังเรียกร้องให้ผู้ประเมินต้องหาทางเลือกที่ดีหรือเหมาะสม
                                74
               ที่สุดเพื่อดำเนินการ  จึงทำให้กลไกนี้กระตุ้นให้เกิดการออกแบบทางเลือกหรือนโยบายอย่าง
               รอบคอบและเหมาะสมตามไปด้วยเพราะจะต้องมีการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ให้ชัดเจน
                     75
               นั่นเอง  โดยหากพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่าง RIA และข้อเสนอเชิงนโยบายจะพบว่า RIA
               เป็นเครื่องมือที่ช่วยในกระบวนตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย ไม่ใช่เครื่องมือที่นำมาใช้แทนกระบวนการ

               ตัดสินใจ โดยข้อสรุปหรือคำแนะนำที่ได้จากกระบวนการ RIA ไม่จำเป็นต้องมีความชัดเจนว่า
               จะต้องตัดสินใจทางใด แต่จะต้องมีการนำเสนอข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่จะเกิดจาก

               ทางเลือกอันจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการตัดสินใจทางนโยบาย 76

               3.2.2   ความสำคัญในฐานะเครื่องมือที่จะช่วยให้บรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน

                      นอกเหนือจากการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมจะมีประโยชน์ในการช่วยให้ผู้มีอำนาจ

               ตัดสินใจกำหนดนโยบายหรือกฎหมายมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจดังที่กล่าวไปแล้ว การทำ RIA
               ยังมีความเกี่ยวพันกับการดำเนินการที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable development)

               โดยการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นเป็นเหมือนปรัชญาของการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมยุคสมัยปัจจุบัน
               อีกด้วย  ดังนั้น ในแง่แนวคิดที่พิจารณาความเชื่อมโยงระหว่าง RIA กับการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้ว
                     77
               ควรนำเสนอในส่วนนี้ด้วยว่าเหตุปัจจัยใดที่ทำให้ทั้งสองเรื่องมีความเกี่ยวเนื่องกัน


                      เมื่อกล่าวถึงแนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้ว มักมีการนำเสนอนิยามของการพัฒนา
               ที่ยั่งยืนโดยอ้างถึงคำนิยามในเอกสารายงานของคณะกรรมาธิการว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา

               (World Commission on Environment and Development (WCED)) ซึ่งคณะกรรมาธิการ
               ชุดนี้ได้เผยแพร่รายงานที่ชื่อว่า “Our Common Future” หรือรายงานของบรันท์แลนด์ (The
               Brundtland Commission’s report) ซึ่งจัดทำเพื่อรายงานต่อเลขาธิการขององค์การสหประชาชาติ

               (Secretary General of the United Nations) ในปี 2530 โดยรายงานฉบับนี้ได้กล่าวถึงนิยาม


                     74   OECD, Better Regulation Practices across the European Union (OECD Publishing 2019) 70.
                     75   OECD, ‘Recommendation’ (n 12).

                     76   Commission of European Communities (n 13) 3.
                     77   European Environment and Sustainable Development Advisory Councils (EEAC), ‘Impact
               Assessment of European Commission Policies: Achievements and Prospects’ (Statement of the EEAC
               Working Group on Governance 2006) 9.

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     57
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74