Page 73 - kpiebook65010
P. 73
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
87
ด้านมักมีความเกี่ยวพันกันอย่างแน่นแฟ้น นอกจากนี้ ในทางปฏิบัติของการวิเคราะห์ผลกระทบ
ในการทำ RIA นั้น จะเป็นการวิเคราะห์ข้อเสนอทางกฎหมายรายฉบับ ซึ่งโดยสภาพย่อมไม่อาจจะ
ทำการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมแต่เพียงด้านเดียวได้ หากแต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบด้าน
เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมรวมถึงผลกระทบหรือคำนึงถึงข้อพิจารณาด้านอื่น ๆ ไปในขณะเดียวกันด้วย
ด้วยเหตุดังกล่าว จึงไม่ได้มีการจัดทำแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบแบบแยกส่วนอีก
อย่างไรก็ดี เนื่องจากกรอบการศึกษาหลักของรายงานการศึกษานี้มุ่งพิจารณาแนวทาง
และวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมเป็นหลัก ดังนั้น ในบทนี้จะพยายามนำเสนอแนวทางและ
วิธีการวิเคราะห์ผลกระทบที่เน้นกล่าวถึงในมิติด้านสังคมให้มากที่สุดควบคู่ไปกับการนำเสนอ
บทเรียนและแนวทางดำเนินการตามหลักสากลที่เป็นปัจจุบันให้มากที่สุด
3.3 ขั้นตอนหลักของการประเมินผลกระทบ
ก่อนที่จะกล่าวถึงแนวทางและวิธีการประเมินผลกระทบทางสังคมในรายละเอียด
ควรทำความเข้าใจก่อนว่าในภาพรวมของการทำ RIA นั้น มีขั้นตอนใดที่เกี่ยวข้องบ้าง ซึ่งการทำ
ความเข้าใจภาพรวมของการทำ RIA ย่อมช่วยให้เกิดความชัดเจนในเบื้องต้นว่าการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมจะเกิดขึ้นในขั้นตอนใดของกลไกการทำ RIA ทั้งหมด ในที่นี้จะนำเสนอ
แนวทางการทำ RIA ของคณะกรรมการยุโรป (European Commission) ซึ่งวางหลักเกณฑ์เพื่อ
จัดทำกฎหมายและนโยบายของ EU เอง โดยจะยึดแกนกลางของการนำเสนอจากเอกสารที่ชื่อว่า
88
87 เช่นเดียวกับที่จะเห็นแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบของประเทศต่าง ๆ ในบทต่อไปซึ่งมีลักษณะ
เช่นเดียวกัน คือในปัจจุบันแทบจะไม่มีการแยกตัวอย่างแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมออกจาก
ด้านเศรษฐกิจอีกต่อไป ซึ่งเหตุผลหนึ่งน่าจะเนื่องมาจากฐานคิดของการทำ RIA ที่พยายามจะให้มีการวิเคราะห์ผลกระทบ
ออกมาเป็นตัวเลขให้มากที่สุดทำให้ในท้ายที่สุดมีความจำเป็นต้องนำหลักการวิเคราะห์ที่นิยมใช้ในทางเศรษฐกิจ เช่น
การวิเคราะห์แบบ cost-benefit analysis และ cost-effectiveness analysis เป็นต้น มาใช้ในการวิเคราะห์ด้านสังคม
ให้มากเท่าที่จะทำได้ ส่งผลให้ในแง่วิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทั้งสองด้านไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
88 คณะกรรมาธิการยุโรปถือเป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป (executive of
European Union) ยุโรปโดยมีอำนาจหน้าที่ในการเสนอกฎหมายและมาตรการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้รัฐสภาแห่งยุโรป
พิจารณา ดังนั้น บรรดาเอกสารและคำแนะนำที่ออกมาในนามของคณะกรรมาธิการยุโรปจึงมีความสำคัญในการกำหนด
ทิศทางการใช้กฎหมายและนโยบายของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปรายละเอียดดู OECD (n 20) 124.
สถาบันพระปกเกล้า
61