Page 72 - kpiebook65010
P. 72

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                      ในส่วนที่ทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาที่ยั่งยืนกับกลไกการประเมิน
               ผลกระทบนั้น อาจพิจารณาได้ว่า โดยลักษณะของกลไกการวิเคราะห์ผลกระทบที่จะต้องประเมิน

               ผลกระทบแต่ละด้านประกอบกันก็จะเป็นการประเมินแบบองค์รวมที่เป็นหนทางหนึ่งของการพัฒนา
                     85
               ที่ยั่งยืน  นอกจากนี้ เนื่องจากโดยลักษณะพื้นฐานของ RIA ที่เป็นการประเมินผลกระทบต่อ
               หลายภาคส่วนอย่างเป็นกิจจะลักษณะและมีลักษณะเป็นการประเมินแบบบูรณาการ (integrated
               policy appraisal) ย่อมมีส่วนทำให้มีบุคคลหรือผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการสะท้อนปัญหา
               หรือร่วมกันในกระบวนการมากยิ่งขึ้น โดยนัยดังกล่าวนี้ย่อมส่งผลให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม

               ในการตัดสินใจของรัฐซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนตามไปด้วย  จึงอาจกล่าวได้ว่า
                                                                               86
               RIA เป็นกลไกสำคัญที่เข้ามาช่วยเติมเต็มความโปร่งใสตรวจสอบได้ของการตัดสินใจของรัฐในระดับ

               นโยบาย นอกเหนือจากการตัดสินใจในระดับโครงการซึ่งปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งไทย
               มีกฎหมายเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมรองรับอย่างชัดเจน

                      มีข้อสังเกตประการหนึ่งว่า หากพิจารณาเอกสารที่วางแนวทางและวิธีการทำ RIA ของ

               EU ในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาเอกสารที่มีการเผยแพร่ก่อนปี 2010 มักมีการจำแนก
               ประเภท แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมออกจากการวิเคราะห์ผลกระทบทาง

               เศรษฐกิจอย่างชัดเจน โดยการจำแนกที่เพิ่งกล่าวไปนั้นก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าในช่วง
               ทศวรรษก่อนยังมีแนวคิดการแยกการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมออกอย่างเป็นเอกเทศ อย่างไร
               ก็ตาม หากพิจารณาเอกสารของ EU (รวมทั้งของ OECD) ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปจะพบว่าเอกสารที่มี

               การจัดทำหลังปี 2010 เป็นต้นมาไม่ได้มีการแยกแนวทางวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสังคม
               อย่างเป็นเอกเทศอีกต่อไป ซึ่งอาจสะท้อนแนวคิดใหม่ว่าปัจจุบันไม่มีความจำเป็นต้องแยก

               การวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจออกจากกัน เพราะในทางที่สุดผลกระทบทั้งสอง



                     85   Duncan Russel and John Turnpenny ‘The Politics of Sustainable Development in UK
               Government: What Role for Integrated Policy Appraisal?’ (2009) 27 Environment and Planning C:
               Politics and Space 340, 341.
                     86   ibid.

                        ที่ว่าการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมถือเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นก็เนื่องจาก
               หากพิจารณาหลักการที่ 10 และหลักการที่ 4 ของปฏิญญาริโอประกอบกันจะพบข้อความคิดสำคัญเกี่ยวกับความสำคัญ
               ของการมีส่วนร่วมสาธารณะ สรุปใจความได้ว่ารัฐมีหน้าที่จัดให้มีกลไกการมีส่วนร่วมสาธารณะ (participation of all
               concerned citizens) ในทุกระดับในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งร่วมถึงการมีส่วนร่วมในแง่การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (access to
               information) และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน (participation in decision-
               making process)


                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     60
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77