Page 74 - kpiebook65010
P. 74

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                                                    89
               “Better Regulation Guidelines 2017”  ซึ่งเป็นเอกสารที่มีความเป็นปัจจุบันทันสมัยมาก
               ที่สุดและมีกล่องเครื่องมือ (toolbox) ที่มาอธิบายขยายรายละเอียดการดำเนินการมากที่สุด

               ในขณะเดียวกันก็จะนำเสนอแนวทางตามคำแนะนำของกลุ่มประเทศ OECD ประกอบด้วย
               เนื่องจากทั้งสองกลุ่มประเทศเป็นเสมือนตัวแทนขององค์กรเหนือรัฐ (supra-national

               organizations) ที่วางหลักการเรื่องการทำ RIA ที่เป็นมาตรฐานและมีการแก้ไขปรับปรุงการทำ
               RIA อยู่ตลอดเวลา การทำความเข้าใจแนวทางดำเนินการของทั้งสองกลุ่มประเทศย่อมเป็นตัวอย่าง
               ของแนวทางปฏิบัติที่ดี (best practice) ในด้านการทำ RIA ที่ดีและทันสมัย


               3.3.1   แนวทางของ EU Commission

                      หากพิจารณาจากแนวทางที่ปรากฏใน EU Better Regulation Guidelines 2017

               จะพบหลักการสำคัญที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาว่าจะต้องทำ RIA ภายใต้กรอบของ EU หรือไม่
               โดยหลักการเบื้องต้นคือ “จะต้องมีการประเมินผลกระทบ (impact assessment) เมื่อปรากฏว่า
               การดำเนินการใด ๆ (initiatives) ซึ่งรวมถึงทั้งข้อเสนอทางกฎหมายและทางนโยบาย มีแนวโน้ม

               จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ (significant) ด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม หรือสังคม” โดยการ
               ดำเนินการใด ๆ อาจอยู่ในรูปของข้อเสนอทางกฎหมายหรือบรรดาการดำเนินการอย่างอื่นที่ไม่มี

               ผลทางกฎหมาย (legislative and non-legislative initiatives) ก็ได้ โดยเอกลักษณ์เฉพาะของ
               การทำ RIA ภายใต้กรอบของ EU คือการทำ RIA จะต้องคำนึงถึงหลักการวิเคราะห์อย่างได้สัดส่วน
               (principle of proportionate analysis)  ด้วยเสมอ  โดยขั้นตอนและสาระสำคัญของ RIA
                                                   90
                                                              91
               ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นหลักการที่ใช้สำหรับการออกกฎหมายและจัดทำนโยบายของ EU เอง
               โดยอาจแบ่งกรอบการนำเสนอออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ ขั้นตอนการดำเนินการในภาพรวมและ

               องค์ประกอบเชิงเนื้อหา (substantive elements) ของ RIA




                     89   เอกสารดังกล่าวมีรายละเอียดเทคนิคการดำเนินการที่ละเอียดโดยมีการจัดทำเอกสารแนบท้าย (กล่องเครื่องมือ)
               ที่เรียกว่า Better Regulation Toolbox ถึง 63 กล่องเครื่องมือ และในรายงานการศึกษานี้จะนำเสนอสาระสำคัญของ
               กล่องเครื่องมือบางกล่องที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม รายละเอียดเพิ่มเติม ดู European
               Commission, ‘Better Regulation Toolbox’ <https://ec.europa.eu/info/law/law-making-process/
               planning-and-proposing-law/better-regulation-why-and-how/better-regulation-guidelines-and-toolbox/
               better-regulation-toolbox_en> เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564.
                     90   European Commission, ‘Better Regulation Guidelines’ Brussels, (Commission Staff Working
               Document, SWD (2017) 350) 15.

                     91   สาระสำคัญของหลักดังกล่าวจะนำเสนอในหัวข้อ 3.3.1.3 หลังจากกล่าวถึงขั้นตอนการทำ RIA ในภาพรวม

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     62
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79