Page 75 - kpiebook65010
P. 75
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
3.3.1.1 ขั้นตอนดำเนินการในภาพรวม
เนื่องจากแนวทางในการพิจารณาว่าข้อเสนอกฎหมายใดจะต้องมีการทำ RIA
หรือไม่นั้นจะพิจารณาจากระดับหรือความรุนแรงของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นหลัก ดังนั้น
92
ในตอนต้นของการทำ RIA จะเป็นการกลั่นกรองว่าข้อเสนอกฎหมายใดควรต้องทำ RIA โดยผู้อำนวยการ
(Directorate-Generals-DGs) ที่ดูแลนโยบายแต่ละด้านของ European Commission (policy
department) เป็นผู้มีหน้าที่ดำเนินการ โดยหากได้ข้อสรุปว่าจะต้องทำ RIA แล้ว กระบวนการที่
93
ตามมาอาจจัดจำแนกตามลำดับได้ ดังนี้
94
1. นำเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบเบื้องต้นในรูปของการนำเสนอการประเมิน
ผลกระทบเบื้องต้น (inception impact assessment) โดยการประเมิน
ผลกระทบเบื้องต้นนั้นควรประกอบด้วยสภาพปัญหาและทางเลือกในทาง
นโยบายที่จะใช้กับการจัดการปัญหา รวมทั้งนำเสนอภาพรวมของ
การดำเนินการในแต่ละขั้นตอนเพื่อประกอบการนำเสนอข้อเสนอทาง
กฎหมาย การประเมินผลกระทบและการปรึกษาหารือผู้มีส่วนได้เสีย
2. นำการวิเคราะห์ผลกระทบเบื้องต้นเผยแพร่สู่สาธารณะเพื่อรับฟัง
ความเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย
3. กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำ RIA เต็มรูปแบบในรูปคณะกรรมการและ
จัดทำรายงาน RIA (ผู้รับผิดชอบหลักได้แก่ฝ่ายบริหารของ European
Commission เอง โดยมีเลขาธิการประสานคณะกรรมาธิการ
(Secretariat-General) เป็นผู้ตั้ง)
92 กรณีของ EU จะมีความแตกต่างจากระบบการทำ RIA ของประเทศไทยในปัจจุบันที่กำหนดให้ต้องมีการทำ
RIA ประกอบการเสนอร่างกฎหมาย (กฎหมายระดับพระราชบัญญัติ) ทุกฉบับ ในขณะที่ระบบของ EU จะมีการกำหนด
เงื่อนไขให้ทำ RIA กับร่างกฎหมายบางฉบับที่เข้าเงื่อนไขให้ต้องทำ RIA เท่านั้น ซึ่งรายละเอียดจะได้เห็นชัดขึ้นในส่วน
ถัด ๆ ไป
93 รายละเอียดการจัดวางโครงสร้างองค์กรของ European Commission ดู European Commission,
‘How the Commission is organised’ <https://ec.europa.eu/info/about-european-commission/
organisational-structure/how-commission-organised_en> เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2564.
94 European Commission, ‘Better Regulation Guidelines’ (n 36) 15-16.
สถาบันพระปกเกล้า
63