Page 100 - kpiebook65020
P. 100
61
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็น
และการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และน ามาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน
เมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว รัฐพึงจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบระยะเวลาที่ก าหนด
โดย รับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย เพื่อพัฒนากฎหมายทุกฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสม
กับบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป
รัฐพึงใช้ระบบอนุญาตและระบบคณะกรรมการในกฎหมายเฉพาะกรณีที่จ าเป็น พึงก าหนด
หลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐและระยะเวลาในการด าเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้
ในกฎหมายให้ชัดเจน และพึงก าหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง”
101
มาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีเจตนารมณ์ ใน
การก าหนดกรอบและหลักการส าคัญในการตรากฎหมาย ตามแนวคิดที่ว่าไม่ควรมีกฎหมายเกินความจ าเป็น
และสร้างหลักประกันให้ประชาชนมีส่วนร่วมและรับรู้ด้วยตั้งแต่ต้น เนื่องจากในการตรากฎหมายของฝ่ายนิติ
บัญญัตินั้น โดยหลักทั่วไปจะมีกรอบอยู่เพียงว่าจะต้องไม่ตรากฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของ
รัฐธรรมนูญ สิ่งใดที่ไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญรัฐย่อมออกกฎหมายมาบังคับใช้กับประชาชนได้เสมอ
มาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีหลักการที่ส าคัญและ
แนวทางในการด าเนินการดังนี้
(1) หลักการส าคัญของมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
บทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้วาง
102
หลักการส าคัญไว้ 8 ประการ โดยพิจารณาตามโครงสร้างบทบัญญัติของมาตรา 77 ได้ดังนี้
1) มาตรา 77 วรรคหนึ่ง “รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จ าเป็นและยกเลิกหรือปรับปรุง
กฎหมายที่หมดความจ าเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการด ารงชีวิตหรือการ
ประกอบอาชีพโดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชนและด าเนินการให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมาย
ต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง” มีหลักการ
ส าคัญดังต่อไปนี้
(1.1) หลักการประการแรกที่ส าคัญที่สุด คือ การก าหนดให้รัฐพึงมีกฎหมายเพียง
เท่าที่จ าเป็น สิ่งใดที่สามารถด าเนินการได้โดยไม่จ าเป็นต้องมีกฎหมาย ก็ควรเลือกใช้วิธีนั้นก่อน เพราะเมื่อตรา
เป็นกฎหมายแล้ว ย่อมจะต้องมีบทบังคับอย่างเข้มงวด และสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนขึ้นในทันทีที่มีการ
ตรากฎหมายนั้น อย่างไรจึงจะถือว่ามีความจ าเป็น ต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไปตามแนวทางที่ศาลรัฐธรรมนูญ
จะวินิจฉัย และวางหลักอย่างค่อยเป็นค่อยไป
(1.2) เมื่อก าหนดให้มีการตรากฎหมายใหม่เท่าที่จ าเป็นแล้ว รัฐจะต้องย้อนกลับไป
พิจารณากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่แล้วว่าหมดความจ าเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือเป็นอุปสรรคต่อ
101
ส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ความมุ่งหมายและค าอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พุทธศักราช 2560, (พฤษภาคม 2560), น.120.
102 เพิ่งอ้าง, น.121-122.