Page 96 - kpiebook65020
P. 96
57
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
ความส าคัญหรือส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม หรือสิทธิของบุคคลด้วย แต่การประเมินผลกระทบนั้นอาจ
93
ก าหนดเนื้อหาให้มีความแตกต่างกันไปตามระดับและความส าคัญของกฎเกณฑ์นั้น ๆ ได้
นอกจากนี้ กระบวนการในการการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมายของประเทศใน
กลุ่ม OECD ยังก าหนดให้ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และต้องเปิดเผยรายงานผล
การประเมินอย่างแพร่หลายผ่านทางเว็บไซด์ และก าหนดให้มี “หน่วยงานกลาง”เพื่อท าหน้าที่ในการ
ตรวจสอบคุณภาพของรายงานและป้องกันมิให้มีการบิดเบือนข้อมูลที่ทางหน่วยงานที่เสนอกฎหมายได้จัดท า
94
ขึ้นด้วย เพื่อให้การจัดท า RIA เป็นไปอย่างรอบด้านอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มประเทศ OECD เอง การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความ
จ าเป็นในการตรากฎหมาย ก็มีความเข้มข้นที่แตกต่างกันไปตามประเทศและความส าคัญของกฎหมายในระดับ
95
ต่าง ๆ ใน 3 มิติ ดังต่อไปนี้
(1) ระดับของกฎหมายที่ต้องท า RIA
แม้ในหลักการ ควรมีการท า RIA ส าหรับกฎหมายทุกล าดับศักดิ์ แต่ในสภาพความเป็นจริง
แล้ว ข้อจ ากัดของทรัพยากรท าให้ประเทศส่วนมากจะต้อง “เลือก” ท า RIA เฉพาะกับกฎหมายที่มีนัยส าคัญ
ทางเศรษฐกิจหรือสังคม ทั้งนี้ การเลือกท า RIA สามารถช่วยให้หน่วยงานราชการสามารถผลิตรายงาน RIA ที่มี
คุณภาพมากขึ้น และ หลีกเลี่ยงมิให้การท า RIA ถูกมองว่าเป็นเพียง “ขั้นตอนราชการ” ที่ต้องด าเนินการตาม
ข้อก าหนดเป็นประจ าเท่านั้น โดยประเทศสมาชิกประเทศ OECD ส่วนมาก จะน า RIA มาใช้กับกฎหมายระดับ
พระราชบัญญัติ และกฎหมายในระดับรองลงมา แต่บางประเทศจะเลือกเฉพาะกฎหมายที่มีนัยส าคัญในเชิง
เศรษฐกิจหรือสังคมเท่านั้นที่เรียกว่า “Targeting RIA” เช่น สหรัฐอเมริกาจะท า RIA แบบสมบูรณ์กับ
กฎหมายที่ท าให้รัฐมีค่าใช้จ่ายมากกว่า 100 ล้านเหรียญต่อปี ขึ้นไป หรือ กฎหมายที่มีผลกระทบในเชิงลบต่อ
การแข่งขันในตลาด การจ้างงาน การลงทุน ผลิตภาพ หรือ การท านวัตกรรม
(2) เนื้อหาสาระของรายงาน RIA
รายงาน RIA อาจมีรูปแบบและรายละเอียดข้อมูลและความเข้มข้นของบทวิเคราะห์ความคุ้ม
ค่าที่แตกต่างกันส าหรับกฎหมายที่มีนัยส าคัญต่อเศรษฐกิจหรือสังคมที่แตกต่างกัน จึงควรที่จะมีการระบุที่
ชัดเจนว่า กฎหมายประเภทไหนต้องการ RIA ที่มีรายละเอียดและบทวิเคราะห์ที่สมบูรณ์มากน้อยเพียงใด
เพื่อที่จะให้มีความชัดเจนต่อผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดท ารายงานดังกล่าว ตัวอย่างเช่น บางประเทศก าหนดว่าใน
การจัดท ารายงาน RIA นั้น ไม่จ าเป็นต้องประเมินความคุ้มค่าของกฎหมายในเชิงปริมาณ หากแต่เป็นการ
ประเมินในเชิงคุณภาพเท่านั้น บางประเทศต้องการประเมินความคุ้มค่าแบบสมบูรณ์ คือ ครอบคลุมผลกระทบ
ทุกมิติ (comprehensive RIA) ทั้งทางเศรษฐกิจ และ สังคม ในขณะที่บางประเทศต้องการเพียงการวิเคราะห์
ผลกระทบในมิติใดมิติหนึ่งเท่านั้นหรือที่เรียกว่าการประเมินเชิงส่วน (partial RIA) ขึ้นอยู่กับว่าประเทศ
ดังกล่าวให้ความส าคัญแก่ประเด็นใด และขีดความสามารถของหน่วยงานในการจัดท ารายงานประเมินผล
กระทบที่มีคุณภาพ
93
เพลินตา ตันรังสรรค์, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 86, น.38.
94
เพิ่งอ้าง.
95 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 43, น. 2-7 – 2-10.