Page 104 - kpiebook65020
P. 104

65

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


               หลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. .... เสนอต่อคณะรัฐมนตรีและ
               สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งต่อมาได้รับความเห็นชอบและประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่าง
               กฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2562 ในปัจจุบันหลักเกณฑ์การจัดท าและเสนอ
               ร่างกฎหมายจึงเป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อันจะได้อธิบายในรายละเอียดในหัวข้อถัดไป


                       2.3.3 การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่าง
               กฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562

                       พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
               พ.ศ. 2562 ถูกตราขึ้นเพื่อก าหนดหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมาย การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรา
               กฎหมาย เพื่อให้การตรากฎหมายเป็นไปโดยละเอียดรอบคอบ ไม่สร้างภาระแก่ประชาชนเกินความจ าเป็น

               ตลอดจนการก าหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายภายหลังเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว
               เพื่อพัฒนากฎหมายให้ทันสมัยและสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการเข้าถึงกฎหมายของ
               ประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ในมาตรา 77 และมาตรา 258 ค. ด้านกฎหมาย (1) และ
                  104
               (3)  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2560 ที่มุ่งหมายในการปฏิรูปการออกกฎหมายใน
               ประเทศไทยให้เหมาะกับความจ าเป็นในการตรากฎหมายในเรื่องนั้น สอดคล้องกับระบบสากล และปรับปรุง
                                                                                       105
               กฎหมายที่บังคับใช้ไปแล้วให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน

                       พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.
               2562 มีสาระส าคัญ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายและการวิเคราะห์ผลกระทบ
               ที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ดังต่อไปนี้

                              2.3.3.1 หลักการและสาระส าคัญของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมาย

               และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562

                              พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
               พ.ศ. 2562 ได้ก าหนดหลักเกณฑ์พื้นฐานในการหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์
               ของกฎหมาย ไว้ในมาตรา 5 ความดังต่อไปนี้








               104
                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, มาตรา 258.
                 ให้ด าเนินการปฏิรูปประเทศอย่างน้อยในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผล ดังต่อไปนี้...
                 ค. ด้านกฎหมาย
                 (1) มีกลไกให้ด าเนินการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับต่าง ๆ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ให้
               สอดคล้องกับหลักการตามมาตรา 77 และพัฒนาให้สอดคล้องกับหลักสากล โดยให้มีการใช้ระบบอนุญาตและระบบการ
               ด าเนินการโดยคณะกรรมการเพียงเท่าที่จ าเป็นเพื่อให้การท างานเกิดความคล่องตัว โดยมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และไม่สร้าง
               ภาระแก่ประชาชนเกินความจ าเป็น เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ...
                 (3) พัฒนาระบบฐานข้อมูลกฎหมายของรัฐโดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลกฎหมายได้สะดวก และ
               สามารถเข้าใจเนื้อหาสาระของกฎหมายได้ง่าย
               105  หมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109