Page 101 - kpiebook65020
P. 101

62

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


               การด ารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพของประชาชนมากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้ยกเลิก หรือปรับปรุงแก้ไข
               กฎหมายเหล่านั้นเสียใหม่ให้สอดคล้องกับสภาวะที่เป็นจริงในปัจจุบัน รัฐสมควรตรวจสอบว่ากฎหมายดังกล่าว
               ถ้าใช้บังคับอย่างจริงจังในปัจจุบันจะเป็นไปได้หรือไม่ การมีกฎหมายดังกล่าวอยู่แล้วไม่ใช้บังคับ จะเป็นผลให้
               เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกระท าความผิดฐานละเว้นต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ และถ้าบังคับจริงจะเกิดกลียุคขึ้นใน

               สังคมหรือไม่

                                     (1.3) เมื่อมีกฎหมายแล้ว รัฐจะต้องด าเนินการให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายได้
               โดยสะดวก ซึ่งในยุคที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศที่สะดวกและรวดเร็วเช่นปัจจุบัน ย่อมไม่เป็นการยากที่รัฐจะ
               ด าเนินการให้เกิดผลเช่นนั้น แต่ล าพังการจัดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงตัวบทกฎหมาย ไม่ได้ท าให้ประชาชน
               สามารถปฏิบัติตามกฎหมายนั้นได้อย่างถูกต้อง สิ่งที่รัฐจะต้องด าเนินการ คือ ต้องด าเนินการให้ประชาชน

               สามารถเข้าใจกฎหมายนั้นได้อย่างถูกต้อง ซึ่งอาจท าเป็นระบบที่น ากฎหมายที่เกี่ยวข้องมารวมไว้ในที่เดียวกัน
               หรือจัดท าค าอธิบายสั้น ๆ หรือคู่มือพอที่จะทาให้ประชาชนเข้าใจได้ว่าตนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องใด
               อย่างไร

                              2) มาตรา 77 วรรคสอง “ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น
               ของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผล

               การรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และน ามาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรา
               กฎหมายทุกขั้นตอน เมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว รัฐพึงจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบ
               ระยะเวลาที่ก าหนดโดย รับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย เพื่อพัฒนากฎหมายทุกฉบับให้

               สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป” มีหลักการส าคัญดังต่อไปนี้

                                     (2.1) เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือ
               ผลกระทบที่จะมีต่อประชาชน หรือสามารถเสนอแนะแนวทางใหม่ ๆ ที่หน่วยงานของรัฐอาจนึกไม่ถึงได้ จึง
               ก าหนดให้ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง แล้วน าความคิดเห็นนั้นไปใช้ประกอบการตรา
               กฎหมายในทุกขั้นตอน ซึ่งมิได้หมายความว่า ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นในทุกขั้นตอน แต่หมายถึงการน า

               ความคิดเห็นที่ได้รับฟังมาแต่ต้นนั้นไปใช้ประกอบการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วย

                                     (2.2) เพื่อแสดงให้เห็นว่ากฎหมายนั้นมีความจ าเป็นต้องตราขึ้นอย่างแท้จริง มาตรา
               77 จึงก าหนดให้ต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายในแง่มุมต่าง ๆ เช่น ประโยชน์ที่จะ
               ได้รับจากการตรากฎหมายนั้น และภาระที่จะเกิดกับประชาชน รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่ประชาชนจะต้องเสียไปใน

               การปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อวิเคราะห์ว่ากฎหมายนั้นมีความคุ้มค่าและมีความจ าเป็นอย่างแท้จริง (มาตรา 77
               วรรคสอง)

                                     (2.3) เมื่อกฎหมายนั้นใช้บังคับแล้ว มาตรา 77 ยังก าหนดให้มีการประเมินผล
               สัมฤทธิ์ของกฎหมายตามระยะเวลาที่จะมีกฎหมายก าหนด ในการวิเคราะห์ดังกล่าวต้องรับฟังความคิดเห็นของ
               ผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย การประเมินผลสัมฤทธิ์นี้จะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ผลที่คาดหวังไว้ในการตรากฎหมายนั้น

               ได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ มีการบังคับใช้อย่างเข้มงวดเพียงใด และที่ส าคัญหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมีความพร้อม
               ในการปฏิบัติการตามกฎหมายจนเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยหรือสร้างความสุขสงบให้แก่ประชาชนและ
               สังคมมากน้อยเพียงใด
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106