Page 102 - kpiebook65020
P. 102
63
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
3) มาตรา 77 วรรคสาม “รัฐพึงใช้ระบบอนุญาตและระบบคณะกรรมการในกฎหมายเฉพาะ
กรณีที่จ าเป็น พึงก าหนดหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐและระยะเวลาในการด าเนินการตาม
ขั้นตอนต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายให้ชัดเจน และพึงก าหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง” มีหลักการ
ส าคัญดังต่อไปนี้
(3.1) เพื่อเป็นการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและการปฏิรูปการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตไปพร้อมกัน มาตรา 77 จึงก าหนดเงื่อนไขในการตรากฎหมายให้หลีกเลี่ยงการใช้ระบบ
อนุญาต ซึ่งเป็นที่มาของการทุจริตประพฤติมิชอบ และระบบคณะกรรมการ ซึ่งท าให้เกิดขั้นตอน และหาตัว
บุคคลที่จะรับผิดชอบในผลแห่งการกระท ามิได้ นอกจากนั้น ในกรณีที่ให้อ านาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการใช้
ดุลพินิจในเรื่องใด จะต้องก าหนดระยะเวลาและขั้นตอนไว้ให้ชัดเจน
(3.2) โดยธรรมชาติของกฎหมายซึ่งตราขึ้นเพื่อบังคับกับประชาชน จึงมักจะมีบท
ก าหนดโทษส าหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามด้วยเสมอ และโทษที่ก าหนดไว้ก็ต้องเป็นโทษทางอาญา ซึ่งนับวันจะ
ก าหนดให้สูงขึ้น ๆ จนอาจกลายเป็นเครื่องมือให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ไปในทางที่ไม่ชอบได้ จึงได้ก าหนดเงื่อนไข
เป็นประการสุดท้ายว่า การก าหนดโทษอาญาในกฎหมาย ให้ก าหนดแต่เฉพาะเมื่อเป็นความผิดร้ายแรงเท่านั้น
ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องไปศึกษาและวางแนวทางในการก าหนด "ผลร้าย” แบบใหม่ขึ้นแทนที่โทษทางอาญา เช่น
อาจก าหนดเป็นโทษทางปกครองแทน เป็นต้น
ภาพที่ 7 แนวนโยบายแห่งรัฐตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ
ที่มา : ส านักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม, “แนวทางการจัดท าและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติ มาตรา 77
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย,” สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2560 จาก http://www.oja.go.th /TH /const77/.