Page 105 - kpiebook65020
P. 105

66

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                              “มาตรา 5 หน่วยงานของรัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จ าเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุง
               กฎหมายที่หมดความจ าเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการด ารงชีวิตหรือการ
               ประกอบอาชีพ โดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน

                              ให้หน่วยงานของรัฐด าเนินการให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและ

               สามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง
                              ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ หน่วยงานของรัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของ

               ผู้เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผล
               การรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นแก่ประชาชน และน าผลนั้นมาประกอบการพิจารณาใน
               กระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน

                              ในการจัดท าร่างกฎหมาย หน่วยงานของรัฐพึงใช้ระบบอนุญาตและระบบคณะกรรมการ
               เฉพาะกรณีที่จ าเป็น และพึงก าหนดหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐและระยะเวลาในการ

               ด าเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายให้ชัดเจน รวมทั้งพึงก าหนดโทษอาญาเฉพาะความผิด
               ร้ายแรง

                              ความในมาตรานี้ให้ใช้บังคับแก่การจัดท าร่างกฎตามที่ก าหนดในกฎกระทรวงด้วยโดย
               อนุโลม”

                              นอกเหนือจากหลักเกณฑ์พื้นฐานในการหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการ

               ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นแล้ว พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่าง
               กฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ยังมีสาระส าคัญดังต่อไปนี้

                              1) ก าหนดหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมาย ได้แก่ การก าหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบ
               ความจ าเป็นในการออกกฎหมาย การรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง และการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจ
               เกิดขึ้นจากกฎหมายเพื่อประกอบการจัดท าร่างกฎหมาย และการเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการ

               วิเคราะห์นั้นต่อประชาชน

                              2) ก าหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบเนื้อหาของกฎหมาย เกี่ยวกับระบบอนุญาต ระบบ
               คณะกรรมการ การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ระยะเวลาในการด าเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ และการ
               ก าหนดโทษอาญา เพื่อให้การตรากฎหมายเป็นไปโดยละเอียดรอบคอบ ไม่สร้างภาระต่อประชาชนเกินความ
               จ าเป็น

                              3) ก าหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของ

               กฎหมายภายหลังจากที่กฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว เพื่อพัฒนากฎหมายให้ทันสมัยและสอดคล้องกับบริบทที่
               เปลี่ยนแปลงไป

                              4) ก าหนดกลไกเกี่ยวกับการเข้าถึงบทบัญญัติของกฎหมาย เพื่อก าหนดหน้าที่ของหน่วยงาน
               ของรัฐในการด าเนินการเพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจและเข้าถึงบทบัญญัติของกฎหมายได้

                              5) ก าหนดกลไกการโต้แย้งหรือตรวจสอบบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีโทษทางอาญา โทษทาง

               ปกครอง หรือสภาพบังคับที่เป็นผลร้ายอื่นแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม เพื่อให้ศาลสามารถน ามาใช้ในการ
               พิจารณาคดีได้
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110