Page 95 - kpiebook65020
P. 95
56
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
(1) ลักษณะของปัญหาที่ท าให้มีความจ าเป็นต้องตรากฎหมายมีความชัดเจนและครบถ้วน
หรือไม่ ทั้งนี้จะต้อง มีการให้รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะและระดับของความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งเหตุผล
ที่ท าให้เกิด ปัญหาดังกล่าว
(2) การเข้าแทรกแซงของภาครัฐเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งสามารถประเมินได้จากลักษณะของ
ปัญหาตามข้อแรก ผลประโยชน์และต้นทุนของการแทรกแซงของรัฐ และ ทางเลือกอื่น ๆ ในการแก้ไขปัญหา
(3) การออกกฎหมายเป็นวิธีที่ดีที่สุดของการแทรกแซงของภาครัฐหรือไม่ ทั้งนี้ควรจะมีการ
ประเมินผล ประโยชน์และต้นทุนของวิธีการแทรกแซงของรัฐอื่น ๆ เพื่อเปรียบเทียบ เช่น การเก็บภาษีการใช้
ถนน ในช่วงจราจรแออัดแทนการห้ามรถที่มีจ านวนผู้นั่งน้อยกว่า 2 คนใช้ถนนในช่วงแออัด เป็นต้น การ
เปรียบเทียบระหว่างทางเลือกต่าง ๆ ควรรวมถึง ขนาดและการกระจายตัวของผลประโยชน์ต้นทุน ที่เกิด จาก
กฎระเบียบ และกลไกทางปกครองที่ต้องรองรับการบังคับใช้กฎระเบียบดังกล่าว
(4) กฎระเบียบสอดคล้องกับกฎระเบียบอื่น ๆ หรือไม่ เช่น กฎหมายที่ประเทศผูกพันไว้กับ
องค์การนานาชาติ หรือในสัญญาการค้า กฎหมายว่าด้วยวิธีการปกครอง กฎหมายว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูล
ของภาครัฐ ฯลฯ ในกรณีที่เป็นอนุบัญญัติต้องพิจารณาว่ากฎหมายแม่บทได้ให้อ านาจหรือไม่ รวมทั้งกฎหมาย
ต้องพิจารณา ว่าความสอดคล้องในการออกกฎหมายอยู่บนพื้นฐานของข้อบังคับของกฎหมายหรือไม่
(5) หน่วยงานภาครัฐในระดับใดที่มีความเหมาะสมในการรับผิดชอบการด าเนินงานนี้ ในกรณี
ที่มีหน่วยงาน ทั้งในส่วนกลางและในระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ควรมีการออกแบบวิธีการในการประสานงาน
ร่วมกันด้วย
(6) ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการออกกฎหมายเหมาะสมกับต้นทุนในการออกกฎหมาย
หรือไม่ โดยการ ค านวณผลประโยชน์และต้นทุนในการออกกฎระเบียบที่เสนอเปรียบเทียบกับทางเลือกอื่น ๆ
(7) มีการประเมินผลกระทบต่อกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ในเศรษฐกิจและสังคมที่โปร่งใสหรือไม่
ทั้งนี้กฎระเบียบของ ภาครัฐย่อมส่งผลให้กลุ่มบุคคลหรือธุรกิจบางกลุ่มได้ประโยชน์ในขณะที่บางกลุ่มเสีย
ประโยชน์จึงควรที่จะมีการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มบุคคลหรือธุรกิจที่ได้หรือเสียประโยชน์จาก
กฎระเบียบต่อ สาธารณชน
(8) ข้อบัญญัติของกฎหมายมีความชัดเจน สอดคล้องกัน เข้าใจง่ายส าหรับผู้ใช้กฎหมายและ
ประชาชนหรือไม่ ซึ่งหน่วยงานที่เสนอกฎระเบียบควรประเมินด้วยว่าผู้ใช้กฎหมายมีความเข้าใจในข้อบัญญัติ
ของกฎหมาย หรือไม่
(9) ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนมีโอกาสแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายนั้นหรือไม่
ข้อบัญญัติของกฎหมาย ควรได้รับการพัฒนาอย่างโปร่งใสจากการมีกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่
เกี่ยวข้อง อาทิภาค ธุรกิจ สหภาพการค้า หน่วยราชการในระดับต่าง ๆ เป็นต้น
(10) กลยุทธ์และขั้นตอนที่จะบังคับใช้กฎหมายในทางปฏิบัติให้ประสบผลส าเร็จเป็นอย่างไร
หน่วยงานที่เสนอ กฎระเบียบควรศึกษาวิเคราะห์ถึงการใช้ประโยชน์จากองค์กรที่เกี่ยวข้องและกลไกที่สร้าง
แรงจูงใจ เพื่อที่จะให้การบังคับใช้กฎระเบียบมีประสิทธิภาพในทางปฏิบัติ
หลักเกณฑ์การวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมายของประเทศในกลุ่ม OECD จะ
น ามาใช้กับกฎหมายทั้งในระดับพระราชบัญญัติหรือรัฐบัญญัติ กฎหมายล าดับรอง รวมทั้งกฎเกณฑ์อื่น ๆ ที่มี