Page 97 - kpiebook65020
P. 97

58

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                              (3) กระบวนการและขั้นตอนในการจัดท า RIA

                              เพื่อให้รายงาน RIA  มีความน่าเชื่อถือ มีความรอบคอบและสมบูรณ์ บางประเทศจะให้
               ความส าคัญแก่กระบวนการจัดท า RIA  ที่โปร่งใส เช่น การก าหนดให้ผู้จัดท า RIA  จะต้องเป็นหน่วยงานที่ไม่
               เกี่ยวข้องกับกระทรวงที่เสนอกฎหมาย และก าหนดให้มีการเปิดเผยรายงาน RIA เพื่อรับฟังความคิดเห็นของ

               สาธารณชน ในขณะที่บางประเทศไม่มีข้อก าหนดเหล่านี้
                              ส าหรับกรณีของประเทศไทย คณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ได้น า

               OECD Reference Checklist for Regulatory Decision Making มาเป็นต้นแบบในการจัดท าหลักเกณฑ์
               การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายของประเทศไทยและได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
               เพื่อให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติในปี พ.ศ. 2548 และน ามาสู่การจัดท าหลักเกณฑ์การตรวจสอบความจ าเป็น

               ในการตรากฎหมาย (checklist)  ตามมาตรา 77 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
               และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ใน
               ปัจจุบัน

                       2.3.2 การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายของประเทศไทย

                       ในหัวข้อนี้จะได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายของ
               ประเทศไทย และหลักเกณฑ์การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่ง

               ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 อันเป็นที่มาของการก าหนดหลักเกณฑ์ตรวจสอบความจ าเป็นในการตรา
               กฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
               พ.ศ. 2562 ดังต่อไปนี้

                              2.3.2.1 ประวัติความเป็นมาของการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายของ
                          96
               ประเทศไทย
                              การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายของประเทศไทย หรือการประเมินผลกระทบ

               ในการออกกฎหมาย (RIA)  ในประเทศไทย เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกตามระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ
               เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2531 ระเบียบดังกล่าวได้ก าหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบความจ าเป็นในการ
               ตรากฎหมายไว้ใน หมวดที่ 2 การส่งเรื่องไปเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี ส่วนที่ 2 การเสนอร่างกฎหมาย โดย
               ก าหนดว่าส่วนราชการเจ้าของเรื่องที่จะเสนอร่างกฎหมายจะต้องจัดท าบันทึกวิเคราะห์สรุปในการเสนอร่าง
                                                    97
               กฎหมายนั้น โดยต้องมีสาระส าคัญดังต่อไปนี้





               96  ดู สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย,  “การวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย (Regulatory  Impact
               Analysis),” (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, กันยายน 2557), น. 4-1 – 4-3.
                  ส านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,  (รายงานผลการวิจัยการพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบ การ
               ออก กฎ ระเบียบ และกฎหมายของไทย), น.12 – 19.
                  เพลินตา ตันรังสรรค์,  “สรุปการสัมมนาการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย (Regulatory  Impact  Analysis  :
               RIA),” จุลนิติ, กรกฎาคม – สิงหาคม 2557, น.39 - 42.
               97  ระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2531, ข้อ 16 วรรคหนึ่ง (1).
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102