Page 106 - kpiebook65020
P. 106
67
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
6) ก าหนดกลไกเร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐต้องออกกฎหรือด าเนินการอื่นใดเพื่อให้ประชาชน
สามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้รวดเร็ว
2.3.3.2 หลักเกณฑ์การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายและการวิเคราะห์
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการ
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. 2562 ได้ก าหนดหลักเกณฑ์ที่ส าคัญในการการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายในกรณีที่จะมี
การเสนอให้มีการตรากฎหมาย ประกอบด้วย การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย การรับฟังความ
คิดเห็น และการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ดังสามารถอธิบายในรายละเอียดได้ดังต่อไปนี้
ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผล
สัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ก าหนดว่า เมื่อมีกรณีจ าเป็นต้องเสนอให้มีการตรากฎหมาย ให้หน่วยงานของ
รัฐแสดงเหตุผลความจ าเป็นในการตรากฎหมายและต้องวิเคราะห์โดยมีข้อมูลและเอกสารหลักฐานประกอบ
ชัดเจนว่า
1) ไม่เป็นการสร้างภาระแก่ประชาชนเกินความจ าเป็น
2) คุ้มค่ากับภาระที่เกิดขึ้นแก่รัฐและประชาชน และ
3) ไม่สามารถใช้มาตรการหรือวิธีการอื่นใดนอกจากการตราเป็นกฎหมาย
เพื่อการด าเนินการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายที่ถูกต้อง ส านักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกาจึงได้จัดท าหลักเกณฑ์การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย (checklist)
จ านวน 10 ข้อ โดยปรับปรุงจากหลักเกณฑ์การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายที่คณะกรรมการ
ปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเพื่อให้หน่วยงานของรัฐถือ
ปฏิบัติในปี พ.ศ. 2546 ส าหรับรายละเอียดของหลักเกณฑ์การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย
(checklist) ในแต่ละข้อ จะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไปในหัวข้อ 3.5
(1) กฎหมายที่จะต้องด าเนินการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย
พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. 2562 ก าหนดค านิยามของค าว่า “กฎหมาย” ที่จะต้องด าเนินการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรา
กฎหมายตามหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัตินี้ กล่าวคือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติ
และประมวลกฎหมาย นอกจากนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวยังได้ก าหนดค านิยามของ “กฎ” ที่จะต้อง
ด าเนินการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย ว่าคือกฎตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทาง
ปกครอง บรรดาที่มีผลให้เกิดภาระแก่ประชาชน หรือการไม่ปฏิบัติตามจะมีผลให้ต้องได้รับโทษหรือเสียสิทธิ
หรือกระทบต่อสถานะของบุคคล กล่าวคือ ไม่ใช่กฎตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองทุกฉบับ
จะต้องด าเนินการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย แต่เฉพาะกฎที่มีผลให้เกิดภาระแก่ประชาชนหรือ
การไม่ปฏิบัติตามจะมีผลให้ต้องได้รับโทษหรือเสียสิทธิหรือกระทบต่อสถานะของบุคคลเท่านั้นที่จะต้อง
ด าเนินการดังกล่าว