Page 107 - kpiebook65020
P. 107

68

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                              (2) หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย

                              หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายก็คือ หน่วยงาน
               ของรัฐที่เสนอร่างกฎหมายนั่นเอง โดยหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมาย
               และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 หมายความถึงหน่วยงานที่เป็นของรัฐไม่ว่าจะเป็นส่วน

               ราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือในรูปแบบอื่นใด และไม่ว่าจะเป็นองค์กรในฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติ
               บัญญัติ ฝ่ายตุลาการ หรือเป็นองค์กรอิสระ หรือองค์กรอัยการ

                              หน่วยงานของรัฐที่เสนอร่างกฎหมายมีหน้าที่วิเคราะห์และจัดท ารายงาน RIA  โดยในการ
               วิเคราะห์นั้น ผู้วิเคราะห์จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพปัญหาและเป้าหมายในการด าเนินการอย่าง
               แท้จริง รวมทั้งสามารถน าข้อมูลและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ด้วย ทั้งนี้ ในการจัดท า

               รายงาน RIA ต้องให้หัวหน้าส่วนราชการระดับอธิบดีหรือเทียบเท่าลงนามในรายงาน RIA ก่อนเสนอรายงานต่อ
               คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา

                              (3) หลักเกณฑ์การรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง

                              พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
               พ.ศ. 2562 ได้ก าหนดหลักเกณฑ์ในการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนการตรากฎหมายเพื่อออกมา
               บังคับใช้กับประชาชน ซึ่งจะน าไปใช้ประกอบการจัดท ารายงานตามหลักเกณฑ์การตรวจสอบความจ าเป็นใน

               การตรากฎหมาย (checklist)  และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมถึงการ
                                                                                      106
               พิจารณากฎหมายในขั้นตอนอื่น ๆ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ก าหนดนิยาม  ของ “ผู้เกี่ยวข้อง”
               ซึ่งหน่วยงานของรัฐอาจรับฟังความคิดเห็นเพื่อประกอบการจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของ
               กฎหมาย โดยหมายถึงผู้ซึ่งมีหรืออาจมีสิทธิหรือหน้าที่ หรือได้รับหรืออาจได้รับผลกระทบจากร่างกฎหมาย

               กฎหมาย หรือกฎอันมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

                              1) ผู้ประกอบการ บุคคล หรือกลุ่มบุคคลซึ่งมีหรืออาจมีสิทธิหรือหน้าที่หรือได้รับหรืออาจ
               ได้รับผลกระทบ รวมทั้งองค์กรที่เกี่ยวข้อง

                              2) กลุ่มบุคคลหรือชุมชนซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับหรืออาจได้รับผลกระทบ รวมทั้งองค์กรที่
               เกี่ยวข้องซึ่งมีวัตถุประสงค์กระท าการเพื่อประโยชน์ของกลุ่มบุคคลหรือชุมชนดังกล่าว

                              3) หน่วยงานของรัฐซึ่งมีภารกิจเกี่ยวข้อง หรือที่ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ที่ได้รับหรืออาจได้รับ
               ผลกระทบ

                              4) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น


                              นอกจากนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวยังได้ก าหนดนิยามของ “องค์กรที่เกี่ยวข้อง” ว่าหมายถึง
               สมาคมหรือมูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สภาหรือนิติบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่
               จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะที่ได้รับหรืออาจได้รับผลกระทบจากร่างกฎหมาย เพื่อที่หน่วยงานของรัฐที่เสนอ
               ร่างกฎหมายจะได้ด าเนินการรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการตรากฎหมายนั้นด้วย





               106  พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562, มาตรา 3.
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112