Page 109 - kpiebook65020
P. 109

70

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                              4) เมื่อได้ด าเนินการรับฟังความคิดเห็นเรียบร้อยแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐน าผลการรับฟัง
               ความคิดเห็นไปประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายและการจัดท าร่างกฎหมาย และ
               จัดท าสรุปผลการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุประเด็นที่มีการแสดงความคิดเห็น และสรุป
               ความเห็นในแต่ละประเด็นของฝ่ายต่าง ๆ ให้ครบถ้วน รวมทั้งการปรับปรุงหรือไม่ปรับปรุงหลักการหรือ
                                                                      110
               ประเด็นส าคัญของร่างกฎหมายตามความเห็นดังกล่าวพร้อมเหตุผล

                              (4) หลักเกณฑ์การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย

                              การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายเป็นแนวทางที่เป็นระบบในการประเมิน
               และวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านบวกและลบของกฎหมายและทางเลือกอื่นทั้งที่มีอยู่แล้วและได้รับการเสนอ
                   111
               ใหม่  เพื่อประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการออกกฎหมายหรือการใช้มาตรการอื่นเพื่อให้ผู้มีอ านาจ
               ตัดสินใจสามารถเลือกวิธีการได้อย่างถูกต้อง
                              ในการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การ

               จัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 หน่วยงานของรัฐต้องกระท าอย่างรอบ
               ด้านและเป็นระบบ โดยให้น าผลการรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการพิจารณาวิเคราะห์ผลกระทบด้วย เมื่อ
               ด าเนินการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายแล้ว ให้จัดท าเป็นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่

               อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามแนวทางที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายก าหนด โดยความเห็นชอบของ
                                                                                             112
               คณะรัฐมนตรี ซึ่งอย่างน้อยการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายต้องประกอบด้วย
                              1) เหตุผลความจ าเป็นที่ต้องตรากฎหมายส าหรับการด าเนินการตามภารกิจนั้น

                              2) ความซ้ าซ้อนกับกฎหมายอื่น

                              3) สิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลที่ต้องถูกจ ากัด

                              4) ภาระหรืออุปสรรคต่อการด ารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพของประชาชน อันเนื่องมาจาก
               การมีกฎหมายนั้น

                              5) ผลกระทบต่องบประมาณ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม หรือผลกระทบอื่นที่ส าคัญ

                              6) เหตุผลความจ าเป็นในการใช้ระบบอนุญาต ระบบคณะกรรมการ หรือการก าหนดโทษ
               อาญารวมทั้งหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

                              7) หน่วยงานผู้รับผิดชอบ จ านวนเจ้าหน้าที่ของรัฐ อุปกรณ์ และงบประมาณที่ต้องใช้ในการ

               บังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย

                              8) การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ (ถ้ามี)






               110
                  พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562, มาตรา 16.
               111
                   คณพล จันทร์หอม และ โชติกา วิทยาวรากุล,  “โครงการน าเสนอเครื่องมือวิเคราะห์ผลกระทบทางกฎหมายมาใช้ใน
               ประเทศไทย,” (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อส านักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม, ตุลาคม 2559), น.19.
               112  พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562, มาตรา 17.
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114