Page 110 - kpiebook65020
P. 110
71
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
ในปัจจุบัน คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้ก าหนด
“แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย” ขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบความ
จ าเป็นในการตรากฎหมายและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย อันมีหลักเกณฑ์ที่ก าหนดไว้
113
ดังต่อไปนี้
1) ก่อนการเสนอให้มีการตรากฎหมาย ให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบความจ าเป็นในการตรา
กฎหมาย โดยวิเคราะห์สภาพปัญหาและเหตุผลที่รัฐควรเข้าไปแทรกแซง ในเรื่องนั้น และพิจารณาทางเลือก
ต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ ทั้งทางเลือกที่เป็นกฎหมายและไม่เป็นกฎหมาย โดยจะขอค าปรึกษาการด าเนินการดังกล่าว
ต่อคณะกรรมการพัฒนากฎหมายก็ได้ และเมื่อวิเคราะห์แล้วเห็นว่ามีความจ าเป็นต้องตรากฎหมาย ให้
หน่วยงานของรัฐวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย และจัดท าเป็นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ
ที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
2) การจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายหน่วยงานของรัฐต้อง
(2.1) ใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย โดยอธิบายหรือน าเสนอข้อมูลอย่างกระชับ ครบถ้วน
และตรงประเด็น
(2.2) ระบุข้อมูลและข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบได้ ที่น ามา
ประกอบการวิเคราะห์ไว้ในรายงานด้วย
3) ในการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย หน่วยงานของรัฐ ต้องพิจารณาใน
เรื่อง ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อประเทศ สังคม หรือประชาชน ความพร้อมและต้นทุนของรัฐในการปฏิบัติตาม
และบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมหรือสุข
ภาวะ หรือผลกระทบอื่นโดยรวมที่ส าคัญ ประกอบด้วย
4) การวิเคราะห์ความพร้อมและต้นทุนของรัฐตามข้อ (3) ให้หน่วยงานของรัฐวิเคราะห์ต้นทุน
หรือค่าใช้จ่ายที่คาดว่าต้องใช้ในการปฏิบัติตามและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ในระยะ 3 ปีแรก โดยให้
แนบรายละเอียดการค านวณต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาด้วย
5) ให้หน่วยงานของรัฐเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายไปยัง
ส านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
6) ให้ส านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตรวจสอบความครบถ้วนของการด าเนินการตามข้อ 1)
ถึงข้อ 4) โดยหากเห็นว่ามีความจ าเป็นต้องด าเนินการในส่วนใดเพิ่มเติม ให้แจ้งหน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่อง
ด าเนินการให้ครบถ้วน โดยให้ระบุเรื่องหรือประเด็นที่จะต้องด าเนินการให้ชัดเจน
7) ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติส่งร่างกฎหมายให้ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจ
พิจารณา ให้ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายและตรวจสอบการ
วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมทั้งตรวจสอบว่าการรับฟังความคิดเห็น
ครบถ้วนและครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องที่ต้องรับฟังหรือไม่
113 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 132 ก ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562