Page 111 - kpiebook65020
P. 111
72
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
8) เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ส านักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกาอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องหรือหน่วยงานอื่นในการวิเคราะห์ต้นทุนหรือ
ค่าใช้จ่ายของประชาชนที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ส าหรับกรณีที่ผลกระทบนั้นอาจค านวณเป็นเงินได้และเป็น
ร่างกฎหมายดังต่อไปนี้
(8.1) ร่างกฎหมายที่ก าหนดให้บุคคลกระท าการใดเมื่อได้รับความยินยอม ก่อน
กระท าการนั้น เช่น การอนุญาต การอนุมัติ การจดทะเบียน การขึ้นทะเบียน การรับแจ้ง การให้ประทานบัตร
และการให้อาชญาบัตร
(8.2) ร่างกฎหมายอื่นตามที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายประกาศก าหนด
9) เมื่อส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาร่างกฎหมายแล้วเสร็จ ให้ปรับปรุง
หรือแก้ไขรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายให้สอดคล้องกับร่างกฎหมายที่ผ่านการ
ตรวจพิจารณา และเสนอไปพร้อมกับร่างกฎหมายและเอกสารอื่น ๆ เพื่อด าเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะแจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ด าเนินการหรือร่วม
ด าเนินการก็ได้
(5) แบบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
ตามแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายที่คณะกรรมการพัฒนา
กฎหมายได้ก าหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้ก าหนด “แบบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่
อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย” เพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่ประสงค์จะเสนอร่างกฎหมายน าไปจัดท าข้อมูลต่าง ๆ
ตามแบบที่ก าหนด โดยในการนี้คณะกรรมการพัฒนากฎหมายได้จัดท าคู่มือการจัดท ารายงานการวิเคราะห์
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายเผยแพร่ทางเว็ปไซต์ http://www.lawreform.go.th/ และ
http://www.krisdika.go.th/ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐน าไปใช้เป็นแนวทางในการจัดท ารายงานการวิเคราะห์
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายด้วย โดยแบบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ พร้อมทั้งค าอธิบายตามคู่มือการจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
จากกฎหมาย โดยแบบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายจะก าหนดข้อมูลที่ให้รายงาน
ออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
ส่วนข้อมูลทั่วไปของกฎหมาย จะเป็นการให้ระบุข้อมูลทั่วไปของกฎหมาย ได้แก่
1) ร่างพระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายใหม่ การแก้ไข/ปรับปรุงกฎหมาย หรือการยกเลิก
กฎหมาย เพื่อให้ทราบว่าร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายประเภทใด
2) หน่วยงานของรัฐผู้เสนอร่างกฎหมาย โดยระบุชื่อหน่วยงานของรัฐ (ระดับกรมหรือ
เทียบเท่า) ที่เป็นผู้เสนอร่างกฎหมาย
3) ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ว่าการด าเนินการในเรื่องนี้
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติหรือแผนการปฏิรูปประเทศในประเด็นหรือหัวข้อใด เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ
ตรวจสอบความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ และเพื่อให้ทราบว่าร่างกฎหมายที่
เสนอนั้นเป็นกฎหมายที่จะตราขึ้นเพื่อการปฏิรูปประเทศหรือไม่ และเป็นการด าเนินการตามที่มาตรา 21 (2)
ก าหนดไว้ด้วย