Page 112 - kpiebook65020
P. 112
73
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
ส่วนเหตุผลความจ าเป็นที่ต้องตรากฎหมายและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
ประกอบไปด้วย
1) การระบุสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และผลกระทบของปัญหา
2) เหตุผลที่รัฐควรแทรกแซงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการแทรกแซง
3) การแก้ปัญหาในปัจจุบัน โดยให้ระบุการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการตราพระราชบัญญัติ
นั้นในปัจจุบันทั้งของประเทศไทยและแนวทางการแก้ไขปัญหาในเรื่องดังกล่าวของต่างประเทศ
4) การรับฟังความคิดเห็น เป็นระบุว่าได้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและน าผล
การรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบแล้วหรือไม่ เพื่อให้มั่นใจว่าหน่วยงานได้ด าเนินการ
รับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง และได้น าผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวมาประกอบการวิเคราะห์
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายแล้ว
5) ความสัมพันธ์หรือความใกล้เคียงกับกฎหมายอื่น เพื่อไม่ให้มีความซ้ าซ้อนกับกฎหมายอื่น
และป้องกันไม่ให้เกิดการขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ด้วย
6) ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ให้ระบุผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ใน
ประเด็นเรื่องการจ ากัดสิทธิหรือเสรีภาพ หรือก่อให้เกิดหน้าที่หรือภาระอะไร แก่ใครบ้าง และมีมาตรการ
ป้องกัน แก้ไข คุ้มครอง หรือเยียวยาให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบดังกล่าว
7) ความพร้อมและต้นทุนของรัฐในการปฏิบัติตามและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายให้
ระบุความพร้อมและต้นทุนของรัฐในการปฏิบัติตามและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยระบุหน่วยงาน
ผู้รับผิดชอบและแนวทางและระยะเวลาเตรียมการในการปฏิบัติตามหรือบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย
รวมทั้งมีการน าเทคโนโลยีใช้เพื่ออ านวยความสะดวกหรือลดขั้นตอนในการด าเนินการหรือไม่ อย่างไร
ตลอดจนมีแนวทางและระยะเวลาในการสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ
ปฏิบัติตามและการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างไร นอกจากนั้น ยังต้องระบุต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่
คาดว่าต้องใช้ในการปฏิบัติตามและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายในระยะ 3 ปีแรกด้วย
8) ผลกระทบโดยรวมที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ให้ระบุผลกระทบโดยรวมที่อาจเกิดขึ้นจาก
กฎหมาย กล่าวคือ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ผลกระทบต่อสังคม ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาวะ และ
ผลกระทบอื่นที่ส าคัญ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาผลกระทบโดยรวมของร่างกฎหมายในมิติต่าง ๆ อย่าง
รอบด้าน
ส่วนเหตุผลความจ าเป็นในการใช้ระบบอนุญาต ระบบคณะกรรมการ การก าหนดโทษอาญา
และหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ให้ระบุถึงเหตุผลความจ าเป็นในการใช้ระบบอนุญาต การใช้ระบบคณะกรรมการ การ
ก าหนดโทษอาญา และการก าหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีดุลพินิจในการออกค าสั่งทางปกครอง หรือด าเนิน
กิจการทางปกครอง เพื่อให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบเหตุผลและความจ าเป็นที่ต้องก าหนดให้มีระบบอนุญาต
ระบบคณะกรรมการ การก าหนดโทษอาญา และการก าหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีดุลพินิจในการออกค าสั่งทาง
ปกครอง หรือด าเนินกิจการทางปกครอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ก าหนด ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการ
ของหมวด 3 ของพระราชบัญญัติฯ