Page 114 - kpiebook65020
P. 114
75
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
วิธีการของกลุ่มประเทศ OECD มาใช้เป็นแนวทางในการก าหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบความจ าเป็นในการ
ตรากฎหมายขึ้นในปี พ.ศ. 2548 จนมาถึงการก าหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความจ าเป็นและ
การวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมายไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา
77 และน ามาสู่การก าหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ในพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการ
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
การตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมายนั้นจะเป็น
ประโยชน์ต่อกระบวนการในการตรากฎหมายและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชนโดยมิให้มีกฎหมาย
ออกมาจ ากัดสิทธิของประชาชนมากจนเกินไป ดังนั้น ในการด าเนินการตรวจสอบความจ าเป็นและการ
วิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมาย จ าเป็นต้องให้ความส าคัญกับกระบวนการในการวิเคราะห์ การตั้ง
ค าถาม การท าความเข้าใจผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง และการตรวจสอบข้อสมมติต่าง ๆ เพื่อให้ทราบถึงความ
จ าเป็นในการออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้กับประชาชนอย่างแท้จริง มิเช่นนั้นการตรวจสอบความจ าเป็นและการ
วิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมายก็จะมีค่าเป็นกระบวนการก่อนการตรากฎหมายที่จะต้องด าเนินการให้
ครบขั้นตอนเท่านั้น และจะไม่เกิดประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของการให้มีการตรวจสอบความจ าเป็นและการ
วิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมายแต่อย่างใด
2.4 การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์และทางสังคม
ในหัวข้อนี้ เป็นการศึกษาการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์และทางสังคมในการออกกฎหมาย
โดยเริ่มจากการศึกษา (1) เทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นการใช้เครื่องมือทาง
เศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์ RIA โดยเทคนิคต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์ต้นทุน (Cost) และผลประโยชน์
(Benefits) เป็นต้น และ (2) เทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม
2.4.1 เทคนิคการประเมินผลกระทบทางเศษฐศาสตร์
หัวข้อนี้เป็นการศึกษาเทคนิคทางเศรษฐศาสตร์ที่สามารถน าไปปรับใช้ในการวิเคราะห์ RIA ได้ ในการ
จัดท า RIA นั้น ผู้จัดท าควรน าแนวคิดเรื่องกลไกตลาดและการแทรกแซงกลไกลตลาดในเศรษฐศาสตร์มาปรับ
ใช้อยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่สามารถน ามาใช้ในด าเนินการใน
ขั้นตอนการระบุและประเมินเพื่อเปรียบเทียบทางเลือกทางนโยบาย (ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สามถึงห้าในขั้นตอนการ
จัดท า RIA) ตามที่ได้อธิบายในหัวข้อ 3.1 มาแล้ว โดยหัวใจส าคัญของเทคนิคทางเศรษฐศาสตร์เหล่านี้ไม่ได้อยู่
ที่ตัวเลขที่ได้จากวิเคราะห์ แต่คือการแสดงเหตุผลเชิงประจักษ์ (evidence-based) ประกอบการตัดสินใจ
คัดเลือกนโยบายเพื่อแก้ปัญหา ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเทคนิคที่ส าคัญในการวิเคราะห์ RIA ดังต่อไปนี้
2.4.1.1 การวิเคราะห์ต้นทุน Cost-Benefit Analysis
การวิเคราะห์ต้นทุน หรือ Cost-Benefit Analysis (CBA) เป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมใช้กันในการ
ด าเนินการจัดท า RIA การใช้ CBA เริ่มต้นจากการค านวณต้นทุน (Cost) และ ประโยชน์ (Benefit) ของการ
ด าเนินการนโยบายใด ๆ นโยบายหนึ่ง จากนั้นจึงน าจ านวนต้นทุนมาเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ของแต่ละ
นโยบายเพื่อหักลบหาผลประโยชน์สุทธิ นโยบายใดที่มีผลประโยชน์สุทธิมากที่สุดหรือประโยชน์มากกว่าต้นทุน
มากที่สุดคือนโยบายที่รัฐควรด าเนินการ