Page 113 - kpiebook65020
P. 113
74
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
ส่วนลงท้าย
รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ให้ลงนามหัวหน้าหน่วยงานของ
รัฐที่จัดท ารายงานนี้ เพื่อเป็นการรับรองว่าข้อมูลที่ปรากฏในรายงานนี้เป็นข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบและ
วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนแล้ว รวมถึงให้ระบุผู้รับผิดชอบในการจัดท ารายงานและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และอีเมล เพื่อประโยชน์ในการประสาน
ข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(6) การเปิดเผยรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่
อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. 2562 ก าหนดให้หน่วยงานของรัฐเปิดเผยสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์
114
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านระบบกลาง และหน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีอื่นด้วยก็ได้
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เป็นการจัดท าร่างกฎหมายดังต่อไปนี้
1) ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงหรือความปลอดภัยของประเทศ
2) ร่างกฎหมายที่มิได้ใช้บังคับเป็นการทั่วไปกับประชาชน
3) ร่างกฎหมายที่จ าเป็นต้องตราขึ้นโดยรีบด่วนเพื่อประโยชน์ส าคัญของประเทศเกี่ยวกับ
ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือ
4) ร่างกฎหมายอื่นที่ไม่มีผลกระทบต่อประชาชน
เมื่อหน่วยงานของรัฐได้รับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นว่า
จ าเป็นแล้ว ให้ถือว่าได้ด าเนินการรับฟังความคิดเห็นโดยชอบตามหมวดนี้แล้ว โดยหน่วยงานของรัฐจะไม่
เปิดเผยสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นหรือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบดังกล่าว หรือจะเปิดเผยตามที่
115
เห็นสมควรก็ได้
โดยสรุป การตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมาย
(Regulatory Impact Analysis หรือ RIA) เป็นเครื่องมือส าคัญในการพัฒนาคุณภาพของกฎหมาย โดยการ
ประเมินผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากกฎหมายที่เสนอและใช้วิธีการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลบนพื้นฐานของ
ข้อมูลและข้อเท็จจริง นอกจากนี้ การตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมาย
ยังเป็นกระบวนการที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อค้นหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ไขปัญหา จากทางเลือก
ทั้งหมดที่สามารถท าให้บรรลุเป้าหมายนั้นได้ เพื่อให้สามารถเลือกทางเลือกที่มีความคุ้มค่าและผลกระทบที่
สมเหตุสมผลมากที่สุด และรายงานผลต่อผู้มีอ านาจตัดสินใจให้ทราบถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และ
ผลกระทบของแต่ละทางเลือกและเพื่อน าไปสู่การตัดสินใจเลือกวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ไขปัญหานั้น
ในประเทศไทยได้มีการด าเนินการการตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบใน
การออกกฎหมายเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2531 และได้มีการพัฒนามาเป็นล าดับ โดยได้รับเอาแนวคิดและ
114
พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562, มาตรา 18.
115 พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562, มาตรา 19.