Page 115 - kpiebook65020
P. 115
76
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
116
แนวคิด CBA นั้นมีรากฐานมากจากประสิทธิภาพแบบพาเรโต (Pareto Efficiency) ที่
กล่าวคือ นโยบายทางเลือกที่มีประสิทธิภาพแบบพาเรโต คือ นโยบายที่ท าให้อย่างน้อยคนหนึ่งคนได้รับ
ประโยชน์เพิ่มขึ้นโดยที่ได้ท าให้คนอื่น ๆ เสียประโยชน์ ดังนั้นผลที่ได้จากนโยบาย CBA คือ นโยบายที่จัดสรร
ทรัพยากรแล้วไม่ได้ท าให้ใครเสียประโยชน์หรือท าให้สังคมได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์นั่นเอง แม้ว่าการ
จัดท า CBA จะมีทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์รับรองและเป็นการวิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบของ
นโยบายแต่ละนโยบายอย่างรอบด้าน CBA ก็มีข้อเสียที่ส าคัญนั้นคือ CBA ไม่ได้ค านึงถึงการกระจายรายได้หรือ
แบ่งปันทรัพยากรภายในสังคม นโยบายบางอย่างอาจมีผลประโยชน์มากกว่าต้นทุนและเป็นนโยบายที่มี
ประสิทธิภาพมากที่สุดตามค านิยามของ CBA แต่นโยบายนั้นอาจส่งเสริมให้คนกลุ่มเดียวในสังคมได้รับ
ประโยชน์และคนส่วนใหญ่ต้องแบกรับต้นทุนของนโยบาย อาจกล่าวได้ว่านโยบายนั้นมีประสิทธิภาพมากที่
สุดแต่ไม่ได้ค านึงการกระจายต้นทุนและผลประโยชน์ในสังคม
117
การจัดท า CBA ประกอบด้วยขั้นตอนทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
(1) ก าหนดทางเลือกเพื่อแก้ปัญหา
หลังจากระบุปัญหาในการจัดท า RIA เรียบร้อยแล้ว รัฐจะต้องก าหนดนโยบายทางเลือกที่
สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ โดยทางเลือกควรเป็นทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาและควรมี
อย่างน้อยสามทางเลือกเพื่อใช้เปรียบเทียบกับ Baseline Scenario อย่างไรก็ตาม รัฐควรค านึงถึงต้นทุนที่เกิด
จากการจัดท า CBA ด้วย หากมีงบประมาณหรือเวลาที่จ ากัด ควรพิจารณาลดทางเลือกที่จะวิเคราะห์ลง
ในทางกลับกัน หากมีงบประมาณและเวลาที่เอื้ออ านวย อาจพิจารณามากกว่าสามทางเลือกแต่ไม่ควรเกินหก
118
ทางเลือก ในการระบุทางเลือกเพื่อแก้ปัญหา นอกจากจะต้องสอดคล้องกับปัญหาแล้วยังจะต้องสอดคล้อง
กับวัตถุประสงค์และขอบเขตของการจัดท า RIA ด้วย ตัวอย่างเช่น หากรัฐต้องการแก้ปัญหาอุบัติเหตุเมาแล้ว
ขับ อาจพิจารณาออกกฎห้ามจ าหน่ายสุราในเวลาหลังเที่ยงคืนเป็นทางเลือกที่หนึ่ง ห้ามจ าหน่ายสุราในเวลา
ก่อนเที่ยงคืนเป็นทางเลือกที่สอง การเปลี่ยนเวลาในการจ าหน่ายสุรานับเป็นการเพิ่มตัวเลือกในการแก้ปัญหา
หากไม่มีขอบเขตและวัตถุประสงค์ของปัญหาที่ชัดเจน ตัวเลือกในการแก้ปัญหาในทางปฏิบัตินั้นสามารถ
เกิดขึ้นได้มากมาย ดังนั้น การระบุขอบเขตและวัตถุประสงค์ของปัญหาให้ชัดเจนตั้งแต่แรกจะสามารถลด
ตัวเลือกในการแก้ปัญหาให้ได้ตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ด้วยข้อจ ากัดในการเปรียบเทียบของ CBA มี
ตัวเลือกหลายตัวเลือกที่ไม่อาจน ามาเปรียบเทียบกันได้ เช่น การเปรียบเทียบการแก้ปัญหาอุบัติเหตุเมาแล้วขับ
ด้วยการออกกฎห้ามจ าหน่ายสุราหลังเที่ยงคืนไม่อาจน าไปเปรียบเทียบกับนโยบายการลดจ านวนประชากรที่
เป็นโรคเบาหวานที่อาจมีต้นทุนเท่ากันได้ CBA เปรียบเทียบได้เพียงนโยบาบตัวเลือกที่แก้ปัญหาเดียวแต่ไม่
สามารถน าตัวเลือกในการแก้ปัญหาที่ต่างกันมาเปรียบเทียบกันได้
(2) ระบุผลกระทบและผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละทางเลือก
หลังจากระบุทางเลือกได้แล้ว รัฐจ าเป็นจะต้องระบุผลกระทบทั้งทางต้นทุนและผลประโยชน์
ที่รัฐคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นหากด าเนินการตามทางเลือกนั้น ๆ เพื่อจะระบุผลกระทบ สิ่งแรกที่ต้องระบุคือกลุ่ม
ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการด าเนินการตามทางเลือก เนื่องจากการค านวณผลกระทบตาม CBA จะค านวณ
116
ดู หัวข้อ ประสิทธิภาพแบบพาเรโต.
117
กิตติพงศ์ แนวมาลี, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 23.
118 เพิ่งอ้าง.