Page 116 - kpiebook65020
P. 116

77

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


               เพียงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทางเลือกเท่านั้น หากไม่มีการก าหนดผู้ได้รับผลกระทบ
               ผลกระทบจากแต่ละทางเลือกอาจมีมากจนไม่สามารถค านวณได้ เช่น การแก้ปัญหาอุบัติเหตุเมาแล้วขับนั้นจะ
               ช่วยลดความเสียหายบนท้องถนนของคนไทยได้ ดังนั้นประชากรในประเทศที่คือผู้มีส่วนได้เสีย แต่ใน
               ขณะเดียวกันการแก้ปัญหาอุบัติเหตุก็จะช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้า

               มาเที่ยวประเทศไทยได้เช่นกัน ในกรณีนี้ประชากรโลกสามารถได้รับผลประโยชน์จากทางเลือกในการแก้ปัญหา
               ได้เช่นกัน หากรัฐไม่ก าหนดผู้ได้รับผลกระทบให้ชัดเจนทุก  ๆ ทางเลือกนั้นสามารถส่งผลต่อประชากรโลก
               โดยรวมได้ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แต่ในวิเคราะห์ CBA  นั้น รัฐจ าเป็นต้องระบุผู้ได้รับผลกระทบที่รัฐต้องการ

               น ามาวิเคราะห์ในการด าเนินนโยบายเท่านั้น
                              (3) ค านวณมูลค่าต้นทุนและประโยชน์ในแต่ละทางเลือก


                              เมื่อระบุผลกระทบได้แล้ว รัฐต้องระบุมูลค่าต้นทุนและประโยชน์จากแต่ละทางเลือก โดยทั้ง
               ต้นทุนและประโยชน์ต้องเป็นผลลัพธ์จากการด าเนินการตามทางเลือกนั้น ๆ เท่านั้น ในบางครั้งรัฐต้องค านึงถึง
               ประโยชน์และต้นทุนที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้เสียคนละกลุ่ม เช่น การออกกฎห้ามจ าหน่ายสุราหลังเที่ยงคืนนั้น
               เพิ่มต้นทุนให้แก่ผู้ขายสุราแต่ในขณะเดียวกันกลับสร้างประโยชน์ให้กับประชากรผู้ใช้ถนนหลังเวลาเที่ยงคืน
               การค านวณมูลค่าต้นทุนและประโยชน์จึงมักจะเกิดขึ้นพร้อมกันแต่กับผู้คนคนละกลุ่ม


                              การหาข้อมูลต้นทุนและประโยชน์ในแต่ละทางเลือกนั้นจ าเป็นจะต้องถูกเปลี่ยนมาเป็นมูล
               ค่าที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ ตามหลักการ CBA  ต้นทุนและประโยชน์จะต้องถูกเปลี่ยนเป็นจ านวนเงิน
               (Monetization)  เช่น การออกกฎห้ามจ าหน่ายสุราหลังเที่ยงคืน อาจท าให้ผู้ขายสุราขาดทุนเป็นจ านวนเงิน
               100,000 บาท แต่สามารถช่วยลดอุบัติเหตุและจ านวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุได้ 50 คน เพื่อที่จะค านวณ

               ต้นทุนและประโยชน์ของกฎห้ามจ าหน่ายสุราหลังเที่ยงคืน จ านวนอุบัติเหตุที่ลดลงและจ านวนผู้เสียชีวิตที่
               ลดลงจะต้องทุกเปลี่ยนเป็นจ านวนเงินในสกุลบาทเพื่อให้ต้นทุนที่แท้จริงของกฎถูกค านวณออกมาได้ วิธีการใน
                                                                 119
               การหาตัวเลขของต้นทุนและผลประโยชน์อาจท าได้ดังต่อไปนี้
                                     (1) Related-Market Method

                                     วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการค านวณต้นทุนและประโยชน์ โดยผู้ค านวณ
               จะต้องศึกษาราคาสิ่งที่มีมูลค่าอยู่แล้วในตลาดเพื่อน ามาค านวณ เช่น ต้นทุนของการห้ามจ าหน่ายสุราหลังเที่ยง

               คืนต่อผู้ขายสุรา คือ ยอดขายลดลง 50 ขวด คิดเป็นราคาขวดละ 1,000 บาท ดังนั้นต้นทุนของทางเลือกนี้ต่อ
               ผู้ขายสุราคือ 50,000 บาท

                                     (2) Stated Preference Method (Willingness to Pay)

                                     Willingness  to  Pay  (WTP)    เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการค านวณต้นทุนและ
               ผลประโยชน์ที่ไม่ได้มีราคาอยู่ในตลาด โดยรัฐมักจะท าแบบส ารวจ (survey) เพื่อสอบถามผู้มีส่วนเกี่ยวข้องถึง
               ราคาที่เต็มใจจะจ่ายหรือได้รับเพื่อแลกกับการจัดท าหรือไม่จัดท านโยบาย วิธีการนี้จะท าให้รัฐได้รับข้อมูลตาม

               ความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง แต่มีข้อเสียเนื่องจาก WTP มักไม่ได้ขึ้นกับความต้องการอย่างเดียว




               119
                  Anthony E Boardman, Cost-Benefit Analysis : Concepts and Practice. 4th ed, (Prentice Hall:Pearson,
               2011), p.406.
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121