Page 118 - kpiebook65020
P. 118
79
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
และประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงตามระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ต้นทุนในการซื้อเครื่องจักรเข้ามา
แก้ปัญหาน้ าเสียอาจมีต้นทุนสูงเมื่อสั่งซื้อเข้ามาครั้งแรก และมีต้นทุนในการดูแลรักษาในแต่ละปีที่แตกต่างกัน
แต่การซื้อเครื่องจักรจะช่วยลดปัญหาน้ าเสียซึ่งอาจจะยังไม่เห็นประโยชน์เป็นรูปธรรมในเวลาหลายปีแรก
แต่ในที่สุดจะให้ประโยชน์มหาศาลแก่สิ่งแวดล้อมในอนาคต ดังนั้น ช่วงเวลาที่แตกต่างกันเมื่อต้นทุนและ
ประโยชน์ปรากฏขึ้นจะต้องถูกน ามาคิดค านวณด้วยเสมอ
121
ตารางที่ 4 ตารางตัวอย่างการวิเคราะห์ NPV
(5) ตัดสินใจเลือกหนทางที่ให้ NPV สูงสุด
2.4.1.2 การวิเคราะห์ราคาคุ้มทุน (Break-Even Analysis)
การวิเคราะห์ราคาคุ้มทุน หรือ Break-Even Analysis (BEA) เป็นการวิเคราะห์ถึงต้นทุนและ
ผลประโยชน์ของแต่ละนโยบายเหมือนกับการวิเคราะห์แบบ CBA แต่แทนที่จะน าต้นทุนและผลประโยชน์มา
เปรียบเทียบกับ BEA จะเลือกนโยบายที่คุ้มต้นทุนที่สุด ตัวอย่างเช่น ในการบังคับกฎหมายฉบับหนึ่งมีต้นทุน
10 ล้านบาท หากกฎหมายฉบับนั้นสามารถสร้างผลประโยชน์ได้ตั้ง 10 ล้านบาทขึ้นไป ก็ถือว่ากฎหมายฉบับ
นั้นมีความคุ้มทุนและควรน าไปบังคับใช้ตามการค านวณแบบ BEA เมื่อเปรียบเทียบกับการค านวณแบบ CBA
แล้วจะเห็นว่า ในการค านวณ BEA นั้นไม่จ าเป็นจะต้องค านวณผลประโยชน์ของนโยบายอย่างครบถ้วน
สมบูรณ์ทั้งหมด หากค านวณผลประโยชน์ไปได้จ านวนหนึ่งแล้วผลประโยชน์มากกว่าต้นทุนแล้ว นโยบายนั้นจะ
มีความคุ้มทุนตาม BEA ทันที
121 กิตติพงศ์ แนวมาลี, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 23.