Page 119 - kpiebook65020
P. 119
80
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
ข้อดีในการค านวณแบบ BEA คือ สามารถน าไปปรับใช้ได้กับนโยบายที่มีผลประโยชน์ในเชิง
นามธรรม เช่น ประโยชน์ในทางศีลธรรม หรือ ประโยชน์ที่ไม่สามารถค านวณออกมาเป็นตัวเลขได้แน่ชัด เช่น
จ านวนคนตายจากการด าเนินการตามนโยบาย หากนโยบายนั้นมีผลประโยชน์อื่น ๆ ที่เกินจุดคุ้มทุนแล้วตาม
BEA แล้วก็ไม่มีความจ าเป็นที่จะต้องค านวณผลประโยชน์เชิงนามธรรมหรือที่ค านวณได้ยาก อย่างไรก็ตาม การ
ค านวณแบบ BEA ก็มีข้อเสียเหมือนการค านวณแบบ CBA กล่าวคือ ยังไม่มีพิจารณาปัจจัยเรื่องการแบ่ง
กระจายต้นทุนและผลประโยชน์ในแต่ละนโยบาย
2.4.1.3 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพต้นทุน Cost-Effectiveness Analysis
การวิเคราะห์ ประสิทธิภาพต้นทุน หรือ Cost-Effectiveness Analysis (CEA) เป็นการค านวณว่า
นโยบายทางเลือกใดสามารถบรรลุเป้าหมายได้โดยดีต้นทุนต่อหน่วยต่ าที่สุด CEA เป็นค านวณอัตราส่วน
ระหว่างต้นทุนและผลประโยชน์ตามสูตรการค านวณ CEA = cost (ต้นทุน) / benefit (ผลประโยชน์) CEA นั้น
คล้ายกับการวิเคราะห์ BEA รวมถึงมีข้อดีและข้อเสียที่เหมือนกัน
2.4.1.4 การวิเคราะห์แบบพิจารณาหลายเกณฑ์ Multi-Criteria Analysis
การวิเคราะห์แบบพิจารณาหลายเกณฑ์ หรือ Multi-Criteria Analysis (MCA) เป็นการ
วิเคราะห์ที่มีการแสดงเหตุผลเชิงตัวเลขน้อยที่สุด กล่าวคือ แทนที่จะค านวณหาต้นทุนและผลประโยชน์เพื่อ
วิเคราะห์เหมือนการวิเคราะห์อื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น MCA เป็นการวิเคราะห์โดยการให้คะแนนถ่วงกับข้อดี
และข้อเสียจากนโยบายแต่ละนโยบายจากนั้นจึงค านวณคะแนนที่ได้ในแต่ละนโยบายเพื่อเปรียบเทียบกัน
MCA นั้นแทบจะไม่ใช้ข้อมูลเชิงตัวเลขในการค านวณเลย ดังนั้นจึงสามารถน าไปปรับใช้กับนโยบายที่มีต้นทุน
และผลประโยชน์ที่ค านวณออกมาเป็นตัวเลขได้ยากหรือขาดข้อมูล อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์แบบ MCA นั้น
มีความน่าเชื่อถือน้อยที่สุดในบรรดาการวิเคราะห์ทั้งหมดเนื่องจากไม่ได้มีการให้เหตุผลเชิงประจักษ์
เช่นเดียวกันการวิเคราะห์
2.4.1.5 การค านวณภาระในการปฏิบัติกฎหมาย (Standard Cost Model)
การค านวณภาระในการปฏิบัติกฎหมาย หรือ Standard Cost Model (SCM) ไม่ใช้วิธีการ
คิดถึงต้นทุนหรือผลประโยชน์จากนโยบายทางเลือกแต่จะพิจารณาเฉพาะต้นทุนการท าตามกฎหมาย
(Compliance Cost) ของผู้ที่ต้องท าตามนโยบายดังกล่าวเท่านั้น แล้วจึงเลือกนโยบายที่มีต้นทุนในการปฏิบัติ
ตามต่ าที่สุดหรือน าตัวเลขที่ค านวณได้มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตตัดสินใจเลือกนโยบายที่มีความสอดคล้อง
122
กับการแก้ปัญหาและไม่สร้างภาระให้กับประชาชนมากเกินไป การหาต้นทุนในการปฏิบัติตามค านวณมา
จากระยะเวลาและราคาต้นทุนที่ประชาชนต้องใช้ในการท าตามกฎหมาย เช่น การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท มี
ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งคือค่าบริการจดทะเบียน ค่าเดินทางของผู้จด และมีจ านวนเวลาที่ต้องใช้คือ เวลาทั้งหมด
ในการด าเนินการจดทะเบียน
122
ใจใส วงส์พิเชษฐ, “Standard Cost Model: แบบการค านวณภาระในการปฏิบัติตามกฎหมาย”, กองพัฒนากฎหมาย
ส านักงานกฤษฎีกา, (2562) สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2563, จาก https :// lawreform .go.th
/uploads/files/1520327 36-oz7k5-aldar.pdf?fbclid=IwAR2 3 WhntMAtCjD6 dgNlZUn8 RQXUkcdg
EQ1NAZdOARXX_7_BSLMUZaLrZLdg.