Page 121 - kpiebook65020
P. 121

82

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                              2.4.2.1 ความหมายของการวิเคราะห์หรือการประเมินผลกระทบทางสังคม (SIA)

                              การวิเคราะห์หรือการประเมินผลกระทบทางสังคม (SIA)  เป็นการศึกษาถึงผลกระทบทาง
               สังคมของการด าเนินการตามโครงการต่าง ๆ  โดย SIA  จะคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและคุณภาพ
               ชีวิตที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะในทางบวกหรือทางลบ พร้อมทั้งน าเสนอมาตรการในการลดผลกระทบทางสังคมในแง่

               ลบ เพื่อประกอบการพิจารณาทางเลือกและปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสังคม และให้เกิดประโยชน์ต่อ
               ส่วนรวมให้มากที่สุด เพื่อให้ตัดสินใจได้ว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเป็นที่ยอมรับได้ และคุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะ
                    124
               ได้รับ
                                                                                                  125
                              การวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมมีประโยชน์ต่อผู้รับผิดชอบโครงการหลายประการ  ได้แก่
                              1.) เพื่อการคาดการณ์ผลลัพธ์ทางสังคมที่จะเกิดขึ้น (มองไปข้างหน้า) หรือประเมินผลลัพธ์
               ทางสังคมจากกิจกรรมที่ด าเนินการไปแล้ว (มองย้อนกลับหลัง)

                              2.) ใช้ประเมินความคุ้มค่าของโครงการ ซึ่งท าให้เจ้าของโครงการสามารถบริหารทรัพยากรได้

               อย่างเหมาะสม เช่น การตัดสินใจลงทุนในโครงการต่าง ๆ โดยดูว่าแต่ละโครงการจะสร้างคุณค่าทางสังคม
               ได้มากน้อยเท่าใด

                              3.) ใช้เป็นเครื่องมือเชิงบริหารในการวางแผนและปรับปรุงผลการปฏิบัติงานขององค์กร

                              4.) ใช้สร้างกลไกการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับโครงการ และการลงไป
               ส ารวจ/สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ยังช่วยให้เจ้าของโครงการเข้าใจมากขึ้นว่าสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ
               จริง ๆ คืออะไร ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับที่เจ้าของโครงการคิดก็ได้

                              5.) ช่วยจัดการกับผลลัพธ์ที่ไม่ได้คาดหวัง ทั้งทางบวกและทางลบ เช่น ระงับหรือลดการ

               สนับสนุนโครงการที่สร้างผลลัพธ์ทางลบมากกว่าทางบวก เป็นต้น

                              6.) ช่วยแสดงความส าคัญของการจับมือร่วมกับองค์กรอื่น ๆ ที่พยายามสร้างความ
               เปลี่ยนแปลงในประเด็นเดียวกัน

                              7.) ช่วยให้การสื่อสารผลลัพธ์ทางสังคมมีความชัดเจนขึ้น ให้ลูกค้าและพันธมิตรเข้าใจ
               เป้าหมายและผลลัพธ์ทางสังคมที่องค์กรสร้างขึ้น และน าข้อมูลนั้นไปพิจารณาซื้อสินค้าหรือร่วมมือกันท างาน

                              ทั้งนี้ หากไม่มีการประเมินผลกระทบทางสังคมแล้ว เจ้าของโครงการจะไม่มีทางรู้ว่างานที่
               ท าไปนั้นบรรลุพันธกิจหรือวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ หรือไม่

               และได้สร้างผลเชิงลบหรือบวกอะไรที่คาดไม่ถึงหรือไม่ จะสามารถปรับปรุงแก้ไขอย่างไรได้บ้างเพื่อสร้าง
               ประโยชน์มากกว่าเดิมในอนาคตหรือลดผลลบข้างเคียงที่ไม่ตั้งใจ






               124
                  สุวรรษา ทองหยู, “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Assessment),” (2562) สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน
               2563, จาก https://social.nia.or.th/2019/article0002/.
               125
                   Schoolofchangmakers,  “สรุปกิจกรรมพัฒนาวัดผลลัพธ์ทางสังคม (SIA  Workshop,”  (2560) สืบค้นเมื่อวันที่ 8
               กันยายน 2563, จาก https://www.schoolofchangemakers.com/ knowledge /15788/.
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126