Page 123 - kpiebook65020
P. 123

84

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                              ขั้นตอนที่ 3 การเก็บข้อมูลตัวชี้วัด (Data Collection)

                              1) ระบบเก็บข้อมูลภายใน ใช้ส าหรับผลผลิตส าคัญเป็นหลัก เช่น ค่าใช้จ่ายที่ผู้ป่วยประหยัด
               ได้

                              2) แหล่งข้อมูลภายนอก ใช้ส าหรับผลลัพธ์ในวงกว้างเป็นหลัก เช่น คุณภาพอากาศ

                              3) แบบส ารวจผู้มีส่วนได้เสีย (ส าหรับผลลัพธ์ต่อผู้มีส่วนได้เสียเป็นหลัก) ด้วยวิธีการต่าง ๆ
               เช่น การเชิญผู้มีส่วนได้เสียมารวมตัวกันและสอบถามพวกเขาโดยตรง หรือโทรศัพท์ถึงตัวแทนกลุ่มผู้มีส่วนได้

               เสียหลักและสอบถาม เป็นต้น
                              2.4.2.4 การน าการประเมินผลกระทบทางสังคมมาใช้กับการประเมินผลกระทบในการ

               ตรากฎหมาย

                              จากการศึกษาความหมาย แนวคิด วิธีการ ตลอดจนประโยชน์การประเมินผลกระทบทาง
               สังคม จะเห็นได้ว่า หากน ามาปรับใช้กับกระบวนการตรากฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย การตีความกฎหมาย
               จะก่อให้เกิดประโยชน์ในแง่บวกต่อส่วนรวมเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ในทางปฏิบัติการตรากฎหมายหน่วยงาน
               ผู้รับผิดชอบกฎหมายแต่ละฉบับ จะตรากฎหมายโดยมีกรอบคิดว่าสังคมควรจะต้องเป็นอย่างไร บางครั้งการ

               ตรากฎหมายกลับเกิดจากผลประโยชน์ทางการเมืองหรือการน าประสบการณ์ของต่างประเทศ มาเป็นตัวตั้งต้น
               แต่ไม่ได้ค านึงว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวเป็นไปตามความต้องการของสังคมหรือไม่ ไม่ได้ค านึงถึงผลกระทบว่า
               เจ้าหน้าที่ที่น ากฎหมายไปบังคับใช้สามารถบังคับใช้กฎหมายได้จริงหรือไม่ ไม่ได้ค านึงถึงผู้ได้รับผลกระทบ

               (stakeholder) จากการตรากฎหมายฉบับนั้น ๆ ฉะนั้น หากน าผลการประเมินผลกระทบทางสังคมมาเป็นหนึ่ง
               ในกรอบแนวความคิดในการตรากฎหมายประกอบกับมิติด้านอื่น ๆ อาจจะท าให้ปัญหาในทางปฏิบัติเหล่านี้
               หมดไป หรือลดปัญหาในการปฏิบัติได้

                              การวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมของกฎหมาย อาจเริ่มจากการก าหนดปัญหาเพื่อเป็นโจทก์
               ให้กับการวิจัยเพื่อน าไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

                              ประการแรก เมื่อเกิดปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาในสังคม เช่น เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว

               จากการเลียนแบบตัวละครในโทรทัศน์ รัฐก็จะตรากฎหมายออกมาเพื่อใช้ในการแก้ปัญหานั้น โดยออก
               กฎหมายควบคุมโปรแกรมรายการโทรทัศน์ให้เหมาะสมกับกลุ่มคนดู

                              การตรากฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และการตีความกฎหมาย หรือที่เรียกว่า
               “กระบวนการยุติธรรมทางกฎหมาย” นั้น รัฐจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบด้าน ไม่มองมิติใดมิติหนึ่งเพียง
               อย่างเดียว เพราะกฎหมายฉบับดังกล่าวอาจไปกระทบต่อวิถีชีวิต อาชีพ การใช้ชีวิตประจ าวันของประชาชนได้

               เช่น รัฐออกประกาศเรื่องการก าหนดเขตการปกครองพิเศษภาคกลางตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาค
               ตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ในแง่เศรษฐกิจ รัฐได้รับผลประโยชน์ แต่ในแง่สังคม การใช้ชีวิต
               ของคนในพื้นที่ได้กลับได้รับผลกระทบในทางลบแทน เป็นต้น

                              ประการที่สอง ในกลุ่มภาคธุรกิจกับภาครัฐ ร่วมมือกันตรากฎหมายออกมา โดยที่ไม่ได้
               ค านึงถึงต้นทุนและผลประโยชน์ที่รัฐจะได้รับ สิ่งส าคัญที่ต้องค านึงถึงในการตรากฎหมายออกมาหนึ่งฉบับ อาจ

               มีผลเป็นการก่อตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาหนึ่งหน่วยงาน หรืออาจมีผลเป็นการเพิ่มอ านาจให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128