Page 122 - kpiebook65020
P. 122

83

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                              2.4.2.2 วัตถุประสงค์ของการประเมินผลกระทบทางสังคม
                                                                            126
                              การประเมินผลกระทบทางสังคมมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

                              1.) เพื่อป้องกันและลดผลกระทบในทางลบที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการต่าง ๆ ต่อชุมชนและวิถี
               ชีวิตของชุมชนโดยเฉพาะกับชุมชนดั้งเดิม ชนเผ่า หรือกลุ่มผู้ด้อยโอกาส

                              2.) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาทางเลือก หรือการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพ
               สังคม

                              3.) เพื่อให้ผู้ตัดสินใจในโครงการหรือเจ้าของโครงการ พิจารณาว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นที่
               ยอมรับได้ และคุ้มค่ากับประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการนั้น ๆ หรือไม่


                              4.) ผลการประเมินผลกระทบทางสังคม สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาขีด
               ความสามารถเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการมากขึ้น
                                                                       127
                              2.4.2.3 ขั้นตอนการประเมินผลกระทบทางสังคม

                              การประเมินผลกระทบทางสังคมต้องด าเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

                              ขั้นตอนที่ 1 การก าหนดปัญหา (Problem  definition)  หรือระบุปัญหาที่องค์กรต้องการ
               แก้ไข (Define Social Value Proposition)

                              1) เริ่มต้นจากการเขียนทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory  of  change)  เพื่อสร้างความ
               เชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมที่องค์กรจะท ากับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมาย (Target group)

                                            “If…..., then……” = ถ้า(ท า) ... แล้ว ....

                              ตัวอย่างเช่น ถ้าคนยากจนโดยเฉพาะสตรีมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินกู้และบริการทางการเงินที่

               เหมาะสมกับพวกเขาแล้วพวกเขาก็จะหลุดพ้นจากความยากจน

                              2) เขียนห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value Chain) อธิบายว่าโครงการที่ท าต้องใช้อะไรท า จะ
               ท าอะไร กิจกรรมต่าง ๆ จะสร้างและน าไปสู่ผลผลิตที่วัดผลได้อย่างไร และผลผลิตต่าง ๆ จะก่อให้เกิดการ
               เปลี่ยนแปลงหรือผลลัพธ์ทางสังคมอย่างไร

                              ขั้นตอนที่ 2 การระบุผลลัพธ์ให้เป็นตัวเลข (Quantification) เป็นการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ที่
               เป็นนามธรรมให้เป็นค่าเชิงปริมาณโดยใช้ตัวชี้วัดทางสังคม (Social Indicators) ที่เลือกมาจาก

                               - ค่าที่บอกว่าผลลัพธ์เกิดขึ้นหรือไม่ และเกิดขึ้นเท่าไหร่

                               - ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างจุดเริ่มต้นก่อนด าเนินโครงการ กับพันาการหลังจาก

               โครงการด าเนินไประยะหนึ่งแล้ว

                               - วัดได้ เปลี่ยนแปลงได้ ใช้เปรียบเทียบข้ามเวลาและองค์กรได้


               126
                  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง” สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2563,  http://
               cmuir.cmu .ac.th /bitstream/6653943832/28273/5/mem0053kn_ch2.pdf}, น. 23-24.
               127  Schoolofchangmakers, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 125.
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127