Page 124 - kpiebook65020
P. 124
85
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
ในหน่วยงานที่มีอยู่แล้ว หรืออาจมีผลให้มีการใช้จ่ายเงินงบประมาณเพิ่มสูงขึ้นรวมถึงอาจมีการเพิ่มก าลังคนใน
ภาครัฐ ซึ่งเป็นต้นทุนที่รัฐต้องแบกรับมากขึ้นแต่อาจไม่คุ้มกับผลตอบแทน
ประการที่สาม การตรากฎหมายหรือกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ ไม่สอดคล้องกับบริบทความ
เปลี่ยนแปลงทางสังคม ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. ... ซึ่งมีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับความต้องการ
ของคนในสังคมที่เป็นคนรักหลากหลายทางเพศ เพราะไม่ได้มอบสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สมรสให้เท่าเทียมกับ
คู่สมรสชาย-หญิง หรือการที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ... ไม่ครอบคลุมลูกจ้างในงานบางประเภท
การแก้ปัญหาบางเรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมจึงไม่จ าเป็นต้องตราเป็นกฎหมายทุกกรณี บางกรณี
อาจใช้วิธีการออก “นโยบาย” อย่างใดอย่างหนึ่งมาใช้แก้ปัญหาก็ได้ หากนโยบายเหล่านั้นไม่สามารถแก้ปัญหา
ได้จึงค่อยตรากฎหมายออกมาเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาแทน
ประการที่สี่ กระบวนการยุติธรรมถูกบิดเบือนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ
กฎหมายฉบับนั้น ๆ มีการใช้อ านาจที่ได้รับจากกฎหมายดังกล่าว ในการแสวงหาประโยชน์ให้กับตนเองหรือ
ผู้อื่น ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อสังคมได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่เรียกรับผลประโยชน์เพื่อแลกกับการบังคับ
ใช้กฎหมาย เป็นต้น
จากปัญหาทั้ง 4 ประการ การ “วิจัย” จึงเป็นเครื่องมือส าคัญในการแก้ปัญหาข้างต้นได้อย่าง
ชัดเจน เพราะสามารถก าหนดปัญหาพร้อมกับหาแนวทางในการแก้ปัญหาได้ตั้งแต่ต้น แต่สิ่งที่ส าคัญไม่แพ้กัน
กับการวิจัย คือ “การมีส่วนร่วมของประชาชน” ในทุกกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็น การร่างกฎหมาย การบังคับ
ใช้กฎหมาย หรือแม้กระทั่งการตีความกฎหมาย เพราะการที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนเหล่านี้ จะ
ส่งผลให้เกิดความรู้สึกในการเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย ส่งผลให้กฎหมายนั้นได้รับการยอมรับจากตัว
ประชาชนเอง และเต็มใจที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย
กระบวนการที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย การ
ตีความกฎหมายที่ดีนั้น จะต้องปรากฏว่ากระบวนทั้งหลายเหล่านั้น เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย
มีการรับฟังเสียงของประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้
นอกจากนี้แล้ว การรับฟังองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความใกล้ชิดกับคนในพื้นที่หรือ
แม้กระทั่งการไม่กีดกันกลุ่มผลประโยชน์ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในรัฐสภาก็เป็นการลดผลกระทบเชิงลบของ
กฎหมายต่อสังคมได้เช่นกัน
128
2.5 รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (การจัดท า Checklist)
การตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบ (Regulatory Impact Analysis หรือ RIA)
เป็นเครื่องมือส าคัญในการพัฒนาคุณภาพของกฎหมาย และเป็นการยกระดับการตรากฎหมายของรัฐ โดยใช้
วิธีการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล ข้อมูล และข้อเท็จจริง
128
ข้อมูลในหัวข้อนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากนางสาวใจใส วงส์พิเชษฐ นักกฎหมายกฤษฎีกา กองพัฒนากฎหมาย ส านักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา