Page 126 - kpiebook65020
P. 126
87
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
2.5.1 หลักการของรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (The Organisation for Economic Co-
operation and Development หรือ OECD) ได้ให้นิยาม “การวิเคราะห์ผลกระทบ” ว่าหมายถึง วิธีการ
ประเมินผลกระทบทั้งในทางบวกและทางลบที่อาจเกิดขึ้นจากการด าเนินการของรัฐ ซึ่งอาจเป็นการออก
130
กฎหมาย การก าหนดนโยบาย หรือการใช้มาตรการทางบริหารอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กฎหมายก็ได้ RIA หรือการ
วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายในปัจจุบันเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าเป็น
เครื่องมือส าคัญที่จะช่วยให้การตัดสินใจของรัฐเป็นไปอย่างโปร่งใสและอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและความ
131
จริง เพื่อให้พัฒนากระบวนการจัดท ากฎหมายให้ได้กฎหมายที่มีคุณภาพ
ในบริบทของประเทศไทย RIA แท้จริงแล้วก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ในกระบวนการออกกฎหมาย แนวคิด
เกี่ยวกับการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายที่รัฐต้องการจะตราขึ้นมีมาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2531
ในส่วนที่ 2 การเสนอร่างกฎหมายของระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี
132
พ.ศ. 2531 ได้ก าหนดให้ส่วนราชการที่เสนอร่างกฎหมายจะต้องท าบันทึกวิเคราะห์สรุปในการเสนอร่าง
กฎหมาย โดยประกอบไปด้วยเหตุผลความจ าเป็นที่จะออกกฎหมาย ชี้แจงผลดีผลเสีย ความเกี่ยวข้องกับ
กฎหมายอื่น การขอข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง สิทธิและหน้าที่ของผู้ที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมาย การควบคุมการใช้
ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่การวิเคราะห์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ รวมถึงแผนการเตรียมออกกฎหมายลูกบท และ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 หลักการ RIA ได้ถูกย้ายมาก าหนดไว้ในส่วนที่ 4 การเสนอร่างกฎหมาย ในระเบียบว่า
133
ด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 ซึ่งก าหนดให้หน่วยงานผู้เสนอร่าง
กฎหมายต้องจัดท าค าชี้แจงตามหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความจ าเป็นในการตราพระราชบัญญัติ หรือ
Checklist 10 ประการ
134
Checklist 10 ประการ เป็นการน าหลักการในระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสนอเรื่อง
ต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2531 มาปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทการเสนอกฎหมายและการปฏิบัติงานของ
หน่วยงานที่เปลี่ยนแปลงไป โดยได้เปลี่ยนรูปแบบของเอกสารจากบันทึกมาเป็น Checklist ซึ่งมีลักษณะเป็น
ข้อค าถาม เพื่อให้หน่วยงานสามารถชี้แจงเหตุผลความจ าเป็นและอธิบายแนวคิด ความเป็นมา และแผนการ
ด าเนินงานตามร่างกฎหมายที่จะเสนอได้อย่างชัดเจนและครบถ้วนมากขึ้น Checklist 10 ประการยังคง
หลักการเกี่ยวกับเหตุผลความจ าเป็นในการตรากฎหมาย ความเกี่ยวข้องหรือซ้ าซ้อนกับกฎหมายอื่น ภาระและ
ประโยชน์ต่อบุคคลที่จะเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวของไว้ และได้มีการเพิ่ม
130
“Regulatory Impact Analysis : A Tool for Policy Coherence,” OECD Reviews of Regulatory Reform OECD
Publishing Paris, (2009) form https://doi.org/10.1787/9789264067110-en.
131
Chapter III Guidelines on impact assessment in European Commission, “Better Regulation Guidelines
and Tool Box,” form https://ec.europa.eu/info/law/law-making-process/planning-and-proposing-
law/better-regu lation-why-and-how/better-regulation-guidelines-and-toolbox_en>
132 ระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2531, ข้อ 16 (1). จาก <http://www .
ratchak itcha.soc.go.th/DATA/PDF/2531/A/191/1.PDF>
133
ระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548, ข้อ 14. จาก <soc.go.th /acrobat
/order_49.pdf>
134 เอกสารแนบท้ายระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 อ้างแล้วเชิงอรรถที่ 78.