Page 127 - kpiebook65020
P. 127
88
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
แนวคิดเกี่ยวกับมาตรการทางเลือกอื่นนอกจากการใช้กฎหมาย “ความคุ้มค่า” หรือการเปรียบเทียบต้นทุนและ
ผลประโยชน์ในการมีกฎหมาย และความพร้อมของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้อง
135
กับหลักเกณฑ์การตัดสินใจในการตรากฎหมายของ OECD นอกจากนี้ การปรับปรุงหลักการ RIA ของไทย
ครั้งนี้ยังเป็นครั้งที่แรกได้ที่ก าหนดให้หน่วยงานต้องจะต้องตรวจพิจารณามาตรการที่ตนเขียนไว้ในกฎหมาย
อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรใน Checklist 10 ประการ เช่น การใช้ระบบควบคุม ระบบก ากับ หรือระบบ
ส่งเสริม และการก าหนดโทษอาญาหรือมาตรการทางปกครอง
ในปัจจุบัน หลักการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายได้ถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 77 ของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมีพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผล
สัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งก าหนดรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนและแนวทางในการวิเคราะห์
ผลกระทบ โดยรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายยังคงหลักการเกี่ยวกับการวิเคราะห์
ผลกระทบเช่นเดียวกับใน Checklist 10 ประการ แต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบและล าดับของค าถามเพื่อช่วยในการ
เรียบเรียงล าดับการวิเคราะห์ของหน่วยงานให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น อีกทั้งได้แยกแนวคิดเกี่ยวกับการตรวจ
พิจารณามาตรการในกฎหมาย ทั้งการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสนอ
เรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2531 และมาตรการการก ากับดูและการก าหนดโทษใน Checklist 10 ประการ
ออกมาเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนในการ “ตรวจสอบเนื้อหาของร่างกฎหมาย” ประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบที่
หน่วยงานต้องจัดท าก่อนการเสนอร่างกฎหมาย
การก าหนดหลักการ RIA ไว้ในรัฐธรรมนูญและวางแนวทางและขั้นตอนไว้ในกฎหมายระดับ
พระราชบัญญัติมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มสภาพบังคับการวิเคราะห์ผลกระทบประกอบการจัดท าร่างกฎหมาย
และเพื่อเป็นการบูรณาการเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพกฎหมาย โดยรวมการท า RIA ก่อนการตรากฎหมาย
ใหม่ การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายที่มีอยู่เดิม และการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องตลอดทั้ง
กระบวนการจัดท าและปรับปรุงกฎหมายเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาคุณภาพกฎหมายที่ครบ
วงจร ครอบคลุมตั้งแต่การจัดท าร่างกฎหมายใหม่ไปจนถึงการทบทวนประสิทธิภาพของกฎหมายที่มีใช้อยู่ใน
ปัจจุบัน
2.5.2 แนวทางการจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ (1) เหตุผล
ความจ าเป็นที่ต้องตรากฎหมายและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย และ (2) เหตุผลความจ าเป็นในการ
ใช้ระบบอนุญาต ระบบคณะกรรมการ การก าหนดโทษอาญา และหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของ
รัฐ ดังนี้
2.5.2.1 การรายงานเหตุผลความจ าเป็นที่ต้องตรากฎหมายและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
จากกฎหมาย
ในส่วนที่ 1 ของรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย มีประเด็นในการ
พิจารณาตามหลักการในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายฯ โดยจะอยู่ใน
135
OECD, “The OECD Reference Checklist for Regulatory Decision-Making,” (2009) form http://www . oecd
.org/governance/regulatory-policy/35220214.pdf>