Page 128 - kpiebook65020
P. 128
89
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
รูปแบบของค าถาม โดยมีจ านวนทั้งหมด 8 ข้อ โดยแบ่งเป็นสองส่วนย่อย ได้แก่ ส่วนการรายงานส่วนการ
ตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย จะเป็นค าถามในข้อ 1-5 และ ส่วนการรายงานส่วนการวิเคราะห์
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย จะเป็นค าถามในข้อ 1-8 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
2.5.2.1.1 การรายงานส่วนการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย
การตรวจสอบเหตุผลความจ าเป็นที่ต้องตรากฎหมาย เป็นค าถามข้อที่ 1 - 5 ในแบบ
รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานได้ตรวจสอบและชี้แจงเหตุผลว่าเหตุใดการตรา
กฎหมายจึงมีความจ าเป็นและเป็นวิธีการแทรกแซงของรัฐที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา ตามความในมาตรา
12 และมาตรา 17 (1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายฯ ซึ่งก าหนดให้
หน่วยงานของรัฐต้องวิเคราะห์และแสดงข้อมูลเหตุผลความจ าเป็นที่ต้องตรากฎหมายและพิจารณาความ
ซ้ าซ้อนกับกฎหมายอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยจะเริ่มจากการให้หน่วยงานระบุขอบเขตและสภาพของปัญหาที่
ต้องการจะแก้ไข ก าหนดวัตถุประสงค์ในการแทรกแซง ตรวจสอบว่าในปัจจุบันมีการด าเนินการเกี่ยวกับปัญหา
ดังกล่าวอย่างไรบ้าง และพิจารณาความซ้ าซ้อนระหว่างมาตรการทางกฎหมายที่จะเสนอขึ้นใหม่และข้อ
กฎหมายที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน
(1) สภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และผลกระทบของปัญหา
ค าถามข้อที่ 1 เป็นการระบุสภาพปัญหา วิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบของปัญหา
(problem definition) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงประเด็นข้อเท็จจริงที่เป็นปัญหา อุปสรรค หรือที่ต้องการ
การส่งเสริมพัฒนาจากรัฐ และเพื่อชี้แจงเหตุผลความจ าเป็นว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาส าคัญที่รัฐ
ต้องเข้าแทรกแซงเพื่อแก้ไข
ข้อ 1.1 ปัญหาคืออะไร สาเหตุของปัญหาคืออะไร และผลกระทบของปัญหาคือ
อะไร
เป็นขั้นตอนเริ่มแรกและเป็นขั้นตอนที่ส าคัญที่สุดในการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจ
เกิดขึ้นจากกฎหมาย เนื่องจากการระบุสภาพปัญหาที่ชัดเจน ครบถ้วน และถูกต้องได้ตั้งแต่เริ่มแรก จะช่วยให้
หน่วยงานสามารถก าหนดเป้าหมายในการจัดท าร่างกฎหมายเพื่อให้มาตรการในร่างกฎหมายสามารถแก้ไข
ปัญหาได้ตรงจุดและท าให้วิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมายได้อย่างครบถ้วนถูกต้องมากขึ้น การวิเคราะห์
สภาพปัญหาจึงเป็นการวางรากฐานที่ส าคัญของการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายและการ
จัดท าร่างกฎหมาย
“สภาพปัญหา” คือ สถานการณ์หรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นที่เป็นเหตุในการเสนอ
กฎหมาย
“สาเหตุของปัญหา” คือ ต้นเหตุหรือข้อเท็จจริงที่ก่อให้เกิดหรือน ามาสู่ปัญหา
“ผลกระทบของปัญหา” คือ ผลที่เกิดขึ้นจากปัญหาดังกล่าว การอธิบายผลกระทบที่
เกิดขึ้นจากปัญหา หน่วยงานควรระบุขอบเขตและขนาดของผลกระทบดังกล่าวให้ชัดเจน และหากมีข้อมูลมาก
เพียงพอ อาจเพิ่มการคาดการณ์แนวโน้มหรือทิศทางของสภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหา
ดังกล่าว ในกรณีที่ภาครัฐไม่เข้าแทรกแซงเพื่อแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาดังกล่าวเลย เช่น คาดการณ์ว่าปัญหาจะ
ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เท่าเดิม ลดน้อยลง หรือสังคมอาจสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้เอง