Page 129 - kpiebook65020
P. 129
90
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
การอธิบายสภาพปัญหา สาเหตุและผลกระทบของปัญหา ควรอยู่ในลักษณะที่เป็น
รูปธรรมและควรน าข้อมูลเชิงประจักษ์มาประกอบการวิเคราะห์ให้ได้มากที่สุด เช่น ข้อมูลเชิงสถิติ ตัวอย่างที่
เกิดขึ้นจริง ผลการศึกษา หรืองานวิจัยต่าง ๆ และอาจพิจารณาใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์อื่น ๆ เพื่อช่วยใน
136
จัดการเรียบเรียงประเด็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เช่น การท าแผนภูมิ Problem Tree analysis เพื่อช่วยให้
เห็นความเชื่อมโยงของปัญหา สาเหตุของปัญหา และผลกระทบของปัญหาอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
การระบุสภาพปัญหาเป็นขั้นตอนพื้นฐานในการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาก
กฎหมาย หากวิเคราะห์สภาพปัญหาไม่ถูกต้องหรือไม่ชัดเจน อาจท าให้มาตรการที่เลือกก าหนดในร่างกฎหมาย
ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด และท าให้การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายคลาดเคลื่อนได้
เมื่อทราบถึงปัญหาที่ต้องการจะแก้ไขแล้ว หน่วยงานผู้จัดท าร่างกฎหมายจะต้อง
พิจารณาและชี้แจงเหตุผลความจ าเป็นที่รัฐต้องเข้าแก้ปัญหาในเรื่องนี้ไว้ในข้อ 1.2 เหตุใดรัฐจึงควรแทรกแซงใน
เรื่องนี้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ความจ าเป็นในการด าเนินการของรัฐและประกอบการพิจารณา
ก าหนดมาตรการในร่างกฎหมายที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา โดยอาจเลือกพิจารณาเหตุของการแทรกแซงโดย
อิงกับหลักทางวิชาการ เช่น
- เป็นปัญหาที่ภาคประชาชนและสังคมไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง (market
failures) เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการสินค้าสาธารณะ การผูกขาดทางการค้า หรือการพัฒนาความสามารถ
ในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน
- เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากกฎหมายหรือนโยบายของรัฐ ท าให้มีข้อจ ากัดบางประการ
ที่รัฐต้องแก้ไข (government failures)
- เป็นประเด็นด้านการรับรองสิทธิ ส่งเสริมความยุติธรรม หรือปรับปรุงสถานภาพ
ของบุคคลผู้ด้อยโอกาสที่กระท าได้ด้วยวิธีการตรากฎหมายเท่านั้น
หรืออาจพิจารณาชี้แจงเหตุที่รัฐต้องเข้าแทรกแซงด้วยวิธีการวิเคราะห์แนวโน้ม
พัฒนาการของสภาพปัญหา โดยการก าหนด Baseline Scenario กล่าวคือ เป็นการแสดงเหตุความจ าเป็นใน
การแทรกแซงด้วยการคาดการณ์ว่า หากภาครัฐไม่เข้าแทรกแซงการด าเนินการในเรื่องนี้ ปัญหาและผลกระทบ
ที่เกิดขึ้นจากปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้นหรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้ ควรแสดงการวิเคราะห์
ในลักษณะที่เป็นรูปธรรมและควรน าข้อมูลเชิงประจักษ์มาประกอบการวิเคราะห์ให้ได้มากที่สุด
(2) วัตถุประสงค์และเป้าหมายของร่างกฎหมาย
ค าถามข้อที่ 2 เป็นการก าหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของร่างกฎหมาย มี
วัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานสามารถก าหนดทิศทางและเป้าหมายสุดท้ายของการตรากฎหมายที่ชัดเจน โดย
ค าตอบในข้อนี้จะน าไปใช้ในการวิเคราะห์มาตรการที่จะก าหนดไว้ในร่างกฎหมาย และภายหลังกฎหมายมีผล
ใช้บังคับ สามารถน าไปใช้เป็นตัวชี้วัดหรือเป็นข้อมูลประกอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายต่อไป
136
United Nations ESCAP, “A Guide to the Application of Public Participation in Planning and Policy
Formulation Towards Sustainable Transport Development,” ST/ESCAP/2171.