Page 130 - kpiebook65020
P. 130

91

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                                     การก าหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของร่างกฎหมายให้ระบุเฉพาะวัตถุประสงค์
               และเป้าหมายที่หน่วยงานของรัฐจะด าเนินการเพื่อแก้ปัญหาที่ระบุตามข้อ 1 โดยจัดล าดับความส าคัญของ
               สาเหตุของปัญหา เพื่อพิจารณาว่าสาเหตุใดควรได้รับการพิจารณาแก้ไขก่อนหรือหลัง และควรก าหนด
               วัตถุประสงค์ให้อย่างเป็นรูปธรรม มีขอบเขตและความเฉพาะเจาะจงให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะท าได้

                                                                                                       137
                                     ในการนี้ หน่วยงานอาจพิจารณาก าหนดวัตถุประสงค์โดยใช้หลักการ S.M.A.R.T.
               เพื่อช่วยให้วัตถุประสงค์ของการร่างกฎหมายให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น กล่าวคือ วัตถุประสงค์ที่ดีควร มีความ
               เฉพาะเจาะจง (Specific)  สามารถวัดผลได้ (Measurable)  มีความเป็นไปได้ (Achievable)  สอดคล้องกับ
               ปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข (Relevant) และมีก าหนดเวลาที่ชัดเจน (Time-related)

                              อย่างไรก็ดี หน่วยงานผู้จัดท าร่างกฎหมายควรค านึงอยู่เสมอว่า การออกกฎหมายเป็นเพียง

               วิธีการหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเท่านั้น อาจมีวิธีการอื่นในทางบริหารที่สามารถแก้ปัญหาได้เช่นกัน  ดังนั้น การ
               ออกกฎหมายจึงมิใช่วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการแทรกแซงที่จะเป็นค าตอบในข้อนี้

                                     (3) การแก้ปัญหาในปัจจุบัน

                                     ค าถามข้อ 3 เป็นการแก้ปัญหาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานผู้
               ร่างกฎหมายตรวจสอบว่าในปัจจุบัน มีวิธีการแก้ปัญหาในข้อ 1 โดยใช้มาตรการทางกฎหมายหรือวิธีการอื่นที่
               ไม่ใช่กฎหมายหรือไม่ และชี้แจงว่าเหตุใดวิธีการดังกล่าวจึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ อันเป็นเหตุให้ต้องตรา

               กฎหมายขึ้นใหม่  การตรวจสอบวิธีการแก้ปัญหาในปัจจุบันจะแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ การด าเนินการที่มีอยู่ใน
               ประเทศไทย และในต่างประเทศ

                                     ข้อ 3.1 วิธีการแก้ปัญหาที่ด าเนินการอยู่ในปัจจุบันคืออะไร หน่วยงานผู้เสนอร่าง
               กฎหมายควรพิจารณาในประเด็นดังต่อไปนี้

                                     - ในปัจจุบัน ภาครัฐและ/หรือภาคเอกชนแก้ปัญหา หรือบรรเทาผลกระทบของ
               ปัญหาด้วยวิธีใดบ้าง อาจเป็นวิธีที่เป็นกฎหมายและไม่ใช่กฎหมายก็ได้

                                     - การด าเนินการข้างต้นได้ผลอย่างไร มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาหรือไม่

               อย่างไร และมีอุปสรรคหรือข้อจ ากัดอย่างไรบ้าง

                                     ข้อ 3.2 ต่างประเทศแก้ปัญหานี้อย่างไร (ถ้ามี) และการด าเนินการดังกล่าวเหมาะสม
               กับสังคมไทยหรือไม่ อย่างไร ในกรณีที่หน่วยงานได้ท าการศึกษาตัวอย่างของกฎหมาย หรือประสบการณ์
               วิธีการแก้ปัญหาของต่างประเทศ ควรแสดงข้อมูลการศึกษาดังกล่าวไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจ
               เกิดขึ้นจากกฎหมายในส่วนนี้ โดยให้อธิบายว่าในต่างประเทศมีการด าเนินการแก้ปัญหาด้วยวิธีอะไรบ้าง


                                     ทั้งที่เป็นกฎหมายและไม่ใช่กฎหมาย อธิบายรายละเอียดของมาตรการแก้ปัญหาพอ
               สังเขป และจะต้องวิเคราะห์หรือเสนอข้อสังเกตประกอบมาด้วยว่า หน่วยงานผู้เสนอกฎหมาย มีความเห็นว่า
               มาตรการดังกล่าวเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยหรือไม่ อย่างไร




               137
                   Doran,  G.  T.  (1981).  "There's  a  S.M.A.R.T.  way  to  write  management's  goals  and  objectives,".
               Management Review. 70 (11).
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135