Page 200 - kpiebook65020
P. 200

161
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

                              ปัญหาประการแรก คือ ปัญหาด้านข้อมูล ในโลกที่เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น
               การเข้าถึงข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นนอกจากจะเป็นไปได้ยากแล้วยังอาจมีต้นทุนที่ผู้ต้องการทราบ

               ข้อมูลต้องแบกรับสูง อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องความไม่ครบถ้วนของข้อมูลหรือได้รับข้อมูลที่มีอคติ ดังนั้นจึงเป็นไป
               ได้ยากที่การออกกฎเพื่อควบคุมแทรกแซงจะตั้งอยู่บนฐานที่ว่าผู้ออกกฎมีข้อมูลครบถ้วนก่อนออกแบบและ
               บังคับใช้กฎ เมื่อบังคับใช้กฎที่เกิดจากข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนอาจท าให้ผู้อยู่ใต้บังคับของกฎแสดงพฤติกรรมที่คาด
               เดาได้ยากหรือเปลี่ยนพฤติกรรมบางประการเพื่อหลบเลี่ยงกฎที่มีต้นทุนในการท าตามที่สูงมาก ท าให้ผู้ควบคุม

               กฎไม่สามารถคาดเดาและควบคุมพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตลาดรวมถึงไม่สามารถออกแบบการลงโทษเพื่อส่งเสริม
               การท าตามกฎได้ ปัญหาด้านข้อมูลจึงท าให้การออกกฎไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในตลาดได้ซ้ ายังท าให้เกิด
               ปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย

                              ปัญหาประการที่สอง คือ ปัญหาด้านการระบุวัตถุประสงค์ของกฎ ดังที่ได้กล่าวในตอนต้นว่า
               นอกเหนือจากการแทรกแซงตลาดเพื่อแก้ไขภาวะตลาดล้มเหลวแล้ว รัฐอาจเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อสาเหตุอื่น

               เช่น เพื่อส่งเสริมจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม หรือเพื่อเหตุผลทางสังคมอื่น ๆ ก็ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ออกกฎ
               ส่วนใหญ่มักค านึงถึงเหตุปัจจัยอื่น ๆ เหล่านี้มากกว่าค านึงถึงการแก้ปัญหาตลาดล้มเหลวทางเศรษฐกิจ
               กล่าวคือรัฐหรือผู้ออกกฎไม่ได้ให้ความส าคัญกับประสิทธิภาพรวมถึงต้นทุนและก าไรในการออกกฎเท่าปัจจัย

               ทางสังคมอื่น ๆ
                              ปัญหาประการที่สาม คือ ปัญหาที่เกิดจากรัฐหรือองค์กรผู้ออกกฎเอง การออกกฎแต่ละครั้ง

               คือการสร้างสิทธิให้รัฐหรือองค์กรผู้ออกกฎเข้าไปควบคุม มีสิทธิในเข้าไปก ากับดูแลตลาดและผู้เล่น ดังนั้น การ
               ออกกฎจึงเปรียบเสมือนการสร้างสิทธิให้องค์กรนั้น ๆ เข้าไปดูแลจัดการตลาด เมื่อตลาดกลายเป็นกรรมสิทธิ
               ขององค์กรแล้ว องค์กรก็มีสิทธิ์จัดการดูแลตลาดได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นหากองค์กรที่เข้าดูแลมีโครงสร้าง วิธีการ

               หรือวัฒนธรรมภายในองค์กรที่ไม่มีประสิทธิภาพและเน้นการเข้าแทรกแซงควบคุมตลาดเพียงอย่างเดียว ก็จะ
               ท าให้ตลาดทั้งตลาดด าเนินการไปอย่างไร้ประสิทธิภาพ ความไร้ประสิทธิในองค์กรหรือที่ทางทฤษฎีเรียกว่า
               X-inefficiency  จะถูกส่งผ่านให้กับตลาดผ่านการเข้าไปสร้างกรรมสิทธิในการดูแลตลาดด้วยการออกกฎ
               นั้นเอง

                                                                       16
                              1.1.2.3 รูปแบบการก ากับดูแลเพื่อผ่อนคลายกฎ
                              รูปแบบของการก าดับดูเพื่อการผ่อนคลายกฎ อาจท าได้หลายวิธี ได้แก่

                              1. การเรียกเก็บภาษี (Taxes)

                              การแก้ปัญหาโดยการเรียกเก็บภาษี เป็นการแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่มีประสิทธิในตลาดโดยตรง

               ด้วยการเพิ่มต้นทุน (ภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่ม) ให้กับผู้ผลิตโดยตรง






               16  Department of Taoiseach, “Revised RIA Guidelines: How to conduct a Regulatory Impact Analysis,”
               accessed 11 September 2020, from https://govacc.per.gov.ie/wpcontent/uploads/Revised_RIA_Guidelines
               _June_ 2009. pdf.
   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205