Page 199 - kpiebook65020
P. 199

160
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

                                     (3) การออกกฎโดยค านึงถึงผลประโยชน์ของบุคคลเฉพาะกลุ่ม (Regulatory
               Capture)

                                     ปัญหาการออกกฎโดยค านึงถึงผลประโยชน์ของบุคคลเฉพาะกลุ่ม หรือที่ในบางครั้ง

               เรียกว่า “กฎระเบียบที่เป็นที่จับตา” ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหน่วยงานผู้ออกกฎค านึงถึงผลประโยชน์ของผู้ประกอบการ
               รายเดิมมากว่าผู้ประกอบการรายอื่น กล่าวคือหน่วยงานของรัฐอาจมีความคุ้นเคยกับการออกกฎเพื่อคุ้มครอง
               คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งในตลาดจนท าให้มองข้ามผลกระทบและผลประโยชน์ที่
               อาจเกิดกับกลุ่มคนอื่น ๆ ได้

                       1.1.2 การผ่อนคลายกฎ (Deregulation)

                       จากปัญหาภาวะตลาดล้มเหลวและภาวะกฎล้มเหลวที่ได้กล่าวไปในข้างต้นท าให้ทั่วโลกมีความ

               พยายามที่จะปรับเปลี่ยนแนวคิดและความเข้าใจเกี่ยวกับการออกกฎเพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในระบบสังคม
               และเศรษฐกิจ  ความพยามดังกล่าวน าไปสู่การปฏิรูปกฎที่เริ่มต้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 โดยรัฐบาลทั่วโลกได้
               หันมาใช้แนวคิดการผ่อนคลายกฎเพื่อลดการใช้กฎเพื่อแทรกแซงแก้ไขปัญหาในตลาด แนวคิดการผ่อนคลาย
               กฎเป็นแนวคิดการปฏิรูปหลักในทศวรรษ 1980 และในทศวรรษเดียวกันนี้ก็ได้มีการพัฒนาแนวคิดปฏิรูปที่ต่อ

               ยอดมาจากการผ่อนคลายกฎนั่นคือแนวคิดในการวิเคราะห์และประเมินกฎหรือการจัดท า RIA นั่นเอง โดยใน
               หัวข้อนี้จะกล่าวถึงการผ่อนคลายกฎ จากนั้นจะได้กล่าวถึงการแนวคิดการจัดท า RIA  ต่อไปซึ่งแนวคิดทั้งสอง
               ล้วนเป็นวิธีปฏิรูปกฎเพื่อแก้ปัญหาภาวะตลาดล้มเหลวและกฎล้มเหลวนั่นเอง

                              1.1.2.1 การปฏิรูปกฎ (Regulatory Reform)

                              การปฏิรูปกฎคือนโยบายพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของกฎโดยเชื่อว่าการปฏิรูปจะน าไปสู่การ
                                                                                      13
               ยกระดับผลลัพธ์ของคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของประชาชน ตามแนวทางของ OECD  การปฏิรูปกฎมีหัวใจ
               หลักสองประการ ได้แก่ ประการแรกคือ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการออกกฎเพื่อให้มีความโปร่งใส่ตรวจสอบ
               ได้โดยประชาชนมีส่วนรวมกับกระบวนการดังกล่าว อีกประการหนึ่งคือ การท าให้สารบัญญัติของกฎมี
                                                                 14
               ประสิทธิภาพ ไม่สร้างภาระที่มากเกินไปให้กับประชาชน  โดยเป้าหมายของการปฏิรูปคือ การมีกฎที่ดี
               ภาครัฐและเอกชนล้วนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบจัดการกฎร่วมกัน สร้างความเข้าใจและเคารพระหว่าง
               สองภาคส่วน

                              1.1.2.2 ปัญหาที่น าไปสู่การผ่อนคลายกฎ

                              แม้ว่าแนวคิดการผ่อนคลายกฎนั้นจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของรัฐบาลใน
               ศตวรรษ 1980 แต่ในทางทฤษฎีการผ่อนคลายกฎนั้นจ าเป็นต้องเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาความไร้ประสิทธิภาพที่
                                                                                                15
               อยู่ในการด าเนินการออกและบังคับกฎอยู่แล้ว โดยปัญหาที่อาจน าไปสู่การผ่อนคลายกฎมีดังต่อไปนี้





               13   สถาพร ปัญญาดี,  “การประเมินผลกระทบในการออกกฎหมาย: ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดท าาร่างพระราชบัญญัติ,”
               (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556)
               14  เพิ่งอ้าง.
               15  เพิ่งอ้าง.
   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204