Page 201 - kpiebook65020
P. 201

162
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

                              2. การออกเงินอุดหนุน (Subsidy)

                              การออกเงินอุดหนุนคือการแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่มีประสิทธิในตลาดโดยตรงเช่นเดียวกัน
               เนื่องจากภาครัฐอัดฉีดเงินให้ผู้บริโภคน าเงินดังกล่าวไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง

                              3. การรณรงค์ด้านข้อมูล (Information Campaign)

                              การรณรงค์ด้านข้อมูลเป็นการน าเสนอข้อมูลที่ครบถ้วนให้กับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคในตลาด

               เมื่อมีข้อมูลเพิ่มขึ้น การตัดสินใจของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคควรเปลี่ยนไปในทางที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นตาม
               กลไกของตลาด

                              4. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization)

                              การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นการแก้ไขปัญหา ความไร้ประสิทธิภาพของกฎที่มาจากองค์กรผู้
               ออกกฎเอง ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ออกกฎที่เป็นภาครัฐมักผูกติดกับระบบราชการที่เต็มไปด้วยกฎและข้อบังคับที่ท าให้

               กระบวนการออกกฎมีต้นทุนทางกฎหมายสูง
                              รูปแบบการผ่อนคลายกฎทั้งสี่นั้นเป็นการพยายามแก้ไขปัญหาภาวะตลาดล้มเหลวผ่านการไม่

               ออกกฎจึงท าให้เป็นการแก้ปัญหาที่หลบเลี่ยงต้นทุนในการออกกฎไปได้พร้อม ๆ กัน โดยการแก้ปัญหาทั้งสี่วิธี
               ล้วนตั้งอยู่บนสมมุติฐานเดียวกันว่า การปล่อยให้เอกชนหรือบุคคลแก้ปัญหาด้วยตัวเองโดยภาครัฐเข้าไป
               เกี่ยวข้องน้อยที่สุดจะเป็นการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากบุคคลที่ประสบกับปัญหามักเข้าถึง

               ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นได้มากกว่าภาครัฐ และบุคคลสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการ
               ใช้หลักเหตุผล

                              นอกจากวิธีการทั้งสี่แล้ว ในปัจจุบันยังมีวิธีการผ่อนคลายกฎอีกประเภทที่ได้รับความนิยม
                                                                      17
               อย่างสูงนั้นคือ แนวคิดการดุน หรือ การสะกิด (Nudge  Theory)   ซึ่งเป็นแนวคิดน าเสนอกลยุทธ์การเสริม
               แรงทางบวก (Positive reinforcement) และการเสนอแนะทางอ้อม (Indirect suggestions) เพื่อสร้างเหตุ

               จูงใจ กระตุ้นแรงจูงใจ และโน้มน้าวการตัดสินใจของบุคคลหรือกลุ่มคนซึ่งเชื่อว่าวิธีการนี้จะมีประสิทธิภาพต่อ
               การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมากกว่าการออกค าสั่ง การใช้กฎหมายหรือ การบีบบังคับให้บุคคลหรือกลุ่มคน
                              18
               เปลี่ยนพฤติกรรม  กล่าวโดยย่อ  คือแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์ผ่านการดุนหรือการสะกิด
               เพียงเล็กน้อยแทนการใช้กฎในการบังคับหรือการลงโทษ

                       1.1.3  ความหมายและหลักการของการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมาย (Regulatory

               Impact Assessment : RIA)

                       การวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมายหรือมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปหลายประเทศ เช่น
               Regulatory Impact Assessment (RIA) ในกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ หรือ Impact Assessment (IA) ใน
               กลุ่มสหภาพยุโรป RIA เป็นหนึ่งในวิเคราะห์การใช้กฎเพื่อแก้ปัญหาภาวะตลาดล้มเหลวและภาวะกฎล้มเหลว
               RIA  หมายถึง กระบวนการที่เป็นระบบในการตรวจสอบร่างกฎหรือกฎหมายที่จะส่งผลถึงผู้คนบางกลุ่มหรือมี


               17
                  ดู Richard H. Thaler & Cass R. Sustein, สะกดความคิด สะกิดพฤติกรรม, (กรุงเทพ: We Learn, 2561).
               18
                  จันทิมา เขียวแก้ว, บทวิจารณ์หนังสือ Behavior Change Research and Theory:Psychological and Technological
               Perspectives, TLA Research Journal Vol 10, No.2, (2017).
   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206