Page 225 - kpiebook65020
P. 225
186
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
ด้วยเหตุนี้จึงจ าเป็นต้องการก าหนดให้อ านาจดุลพินิจแก่เจ้าหน้าที่รัฐนอกจากควรจะใช้อย่างจ ากัด
แล้ว จึงควรต้องมีกรอบหรือขอบเขตในการใช้ดุลพินิจที่ชัดเจนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์
ของกฎหมายที่ให้อ านาจดุลพินิจนั้น โดยการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบทางเลือก
ระยะเวลา วิธีการ หรือขั้นตอนตามที่กฎหมายก าหนด และต้องพิจารณาเงื่อนไขที่กฎหมายก าหนดประกอบกับ
ข้อเท็จจริงในการใช้ดุลพินิจด้วย กฎหมายฉบับใดที่ก าหนดให้อ านาจดุลพินิจแก่เจ้าหน้าที่ก็จะต้องก าหนด
หลักเกณฑ์ตามลักษณะเฉพาะของเรื่องเพื่อใช้เป็นกรอบในการใช้ดุลพินิจไว้ด้วย
2.3.5 การก าหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง
ในปัจจุบันการใช้ประโยชน์จากโทษอาญาที่ก าหนดไว้กฎหมายต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่มีความไม่
สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย เนื่องจากการก าหนดโทษอาญาบางประเภทไม่สมควรเป็นโทษอาญา
70
ท าให้เกิดปรากฏการณ์กฎหมายอาญาเฟ้อ หรือ Overcriminalisation รวมไปถึงการก าหนดอัตราโทษไม่ได้
สัดส่วนกับการกระท าผิด หรือในกฎหมายบางเรื่องมีการน าโทษอาญามาใช้โดยไม่เหมาะสมกับลักษณะ
71
ความผิด
ดังนั้น การก าหนดโทษอาญาในกฎหมายจึงควรก าหนดเฉพาะในกรณีที่เป็นความผิดร้ายแรง โดย
จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบและค านึงถึงสัดส่วนของอัตราโทษที่เหมาะสมด้วย
เพราะฉะนั้น การตรวจสอบเนื้อหาของกฎหมายจึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า นักกฎหมายส่วนใหญ่มักจะ
คุ้นเคยกับการก าหนดมาตรการในกฎหมายภายใต้ข้อพิจารณาในทางหลักนิติศาสตร์ เช่น การใช้หลักความได้
สัดส่วนระหว่างการจ ากัดเสรีภาพในการประกอบธุรกิจของประชาชนและวัตถุประสงค์ของกฎหมาย การใช้
หลักความพอสมควรแก่เหตุในการพิจารณาโทษหรือใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ หลักการเหล่านี้ล้วนเป็นหลัก
กฎหมายทั่วไปในการก ากับการใช้อ านาจของรัฐ อย่างไรก็ดี หลักการพิจารณามาตรการในกฎหมายดังกล่าว
ยังไม่สามารถช่วยหน่วยงานพิจารณาได้ว่ากฎหมายที่ต้องการจะออกนั้นเป็นกฎหมายที่ “ดี” หรือไม่ แนวคิด
เกี่ยวกับการมีกฎหมายที่ “ดีและมีคุณภาพ” หมายถึง การมีกฎหมายเท่าที่จ าเป็น บรรลุวัตถุประสงค์ได้
มีความชัดเจน และเข้าถึงเข้าใจได้ง่าย แนวคิดดังกล่าวจึงถูกน ามารวมไว้ในขั้นตอนการตรวจเนื้อหาร่าง
กฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายฯ ควบคู่ไปกับหลักกฎหมายทั่วไป เพราะ
กฎหมายที่ถูกต้องตามหลักนิติศาสตร์และชอบด้วยหลักการต่าง ๆ ในรัฐธรรมนูญ อาจไม่ใช่กฎหมายที่มี
ประสิทธิภาพเสมอไป จึงอาจกล่าวได้ว่าการตรวจสอบเนื้อหาตามหลักการของมาตรา 77 ในรัฐธรรมนูญและ
ในบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการจัดท าร่างกฎหมายฯ เป็นการผสมผสานมุมมองการตรวจพิจารณาร่าง
70
S.H. Kadish, “The Crisis of Overcriminalisation,” (1968) American Criminal Law Quaterly 7:24.
71
เช่น การน าโทษอาญามาใช้กับความผิดเกี่ยวกับการควบคุมทางเศรษฐกิจ หากก าหนดลักษณะการกระท าที่เป็นความผิดไว้
ไม่ชัดเจน อาจท าให้เกิดความไม่ยุติธรรมต่อผู้กระท าผิด เนื่องจากการการกระท าทางเศรษฐกิจล้วนผูกโยงกับผลก าไรทางธุรกิจ
จึงจ าเป็นต้องแยกแยะระหว่างการกระท าด้วยเจตนาที่ผิดกฎหมายและการกระท าธรรมดาทางเศรษฐกิจให้ชัดเจน การท า
ความผิดทางอาญาในกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมทางเศรษฐกิจจึงต้องมีนัยทางศีลธรรมเพียงพอ, see S.H. Kadish,
“Some Observations on the Use of Criminal Sanctions in Enforcing Economic Regulations,” (1963) The
University of Chicago Law Review, 3:30.A” Ashworth, “Conceptions of Overcriminalisation,” (2008) Ohio
State of Criminal Law 5:4-7, 418-424.