Page 223 - kpiebook65020
P. 223
184
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
63
ได้ การตรวจสอบเนื้อหาของร่างกฎหมายจึงเป็นขั้นตอนส าคัญ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เนื้อหาของร่าง
กฎหมายที่จัดท าขึ้นนั้นจะต้องสอดคล้องกับหลักการทั่วไปในทางกฎหมาย และสอดคล้องกับความต้องการของ
สังคม หลักการทั่วไปในทางกฎหมายล้วนเป็นหลักการที่นักกฎหมายคุ้นเคยดีอยู่แล้ว เช่น หลักธรรมาภิบาล
หลักนิติธรรม (Rule of Law) หลักการแบ่งแยกอ านาจ รวมถึงหลักความได้สัดส่วน (Proportionality) แต่
การจัดท าร่างกฎหมายที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับความต้องการของสังคมนั้น การตรวจสอบเนื้อหาของกฎหมาย
ในมุมมองนี้ จะต้องประเมินไปถึงผลดีผลเสียของมาตรการในกฎหมาย ความเหมาะสมต่อสภาพการณ์ และ
ค านึงถึงความสามารถของมาตรการในการบรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมาย การตรวจสอบเนื้อหาของร่าง
กฎหมายในส่วนนี้ จึงเป็นการน าหลักการของการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายมาใช้ประกอบ
กับขั้นตอนการตรวจสอบเนื้อหาร่างกฎหมาย โดยเน้นไปยัง 4 มาตรการในกฎหมายของไทยที่มักเกิดปัญหา
หรือสร้างผลกระทบในชั้นการบังคับใช้ คือ การใช้ระบบอนุญาต การใช้ระบบคณะกรรมการ การใช้ดุลพินิจ
ของเจ้าหน้าที่ และการก าหนดโทษอาญา การตรวจสอบเนื้อหาของกฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์
การจัดท าร่างกฎหมายฯ จึงมีเป้าหมายของการมีกฎหมายที่ถูกต้องตามหลักกฎหมายทั่วไปและมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น นอกจากการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายและการรับฟังความคิดเห็นก่อนการ
เสนอร่างกฎหมายแล้ว พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของ
กฎหมาย พ.ศ. 2562 จึงได้ก าหนดให้หน่วยงานของรัฐที่จะเสนอร่างกฎหมายต้องจัดท าและตรวจสอบเนื้อหา
ของร่างกฎหมายให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ 5 ประการ ได้แก่
(1) ร่างกฎหมายต้องสอดคล้องกับหลักการทั่วไปในการตรากฎหมาย
(2) ร่างกฎหมายต้องก าหนดให้มีการใช้ระบบอนุญาตเฉพาะกรณีที่จ าเป็น
(3) ร่างกฎหมายต้องก าหนดให้มีการใช้ระบบคณะกรรมการเฉพาะกรณีที่จ าเป็น
(4) ร่างกฎหมายต้องก าหนดหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐและระยะเวลาใน
การด าเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในร่างกฎหมายนั้นให้ชัดเจน
(5) ร่างกฎหมายต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การก าหนดโทษอาญา
2.3.1 การตรวจสอบหลักการทั่วไปในการตรากฎหมาย
หลักการทั่วไปในการจัดท าร่างกฎหมายที่หน่วยงานของรัฐต้องตรวจสอบและพิจารณานั้นถูกก าหนด
ไว้ในมาตรา 21 (1) - (4) แห่งพระราชบัญญัติฯ ซึ่งได้แก่
(1) สอดคล้องและไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โดยในกรณีที่เป็นการจัดท าร่างพระราชบัญญัติ
หรือประมวลกฎหมายต้องสอดคล้องและไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญด้วย
65
64
(2) สอดคล้องและไม่ขัดหรือแย้งกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ
63 มีชัย ฤชุพันธุ์, “แนวความคิดและข้อสังเกตในการร่างกฎหมาย,” ใน ค าบรรยายพิเศษ, จัดโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์, 2541: น. 1-2.
64 ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 จาก https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_PlanOct
2018.pdf>.