Page 226 - kpiebook65020
P. 226

187
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

               กฎหมายผ่านทางด้านการบริหารจัดการภาครัฐและทางนิติศาสตร์ เพื่อให้หน่วยงานได้มีโอกาสทบทวนและ
               ไตร่ตรองถึงประสิทธิภาพของมาตรการที่ตนเลือก ผลที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้มาตรการดังกล่าว ประกอบกับ

               ความชอบด้วยกฎหมายในการเลือกใช้มาตรานั้น



                              ส่วนที่ 3 กรณีศึกษาและตัวอย่างการจัดท ารายงานวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาก
               กฎหมาย (check list)

                       เนื้อหาของคู่มือในส่วนนี้จะประกอบไปด้วย (3.1) ขั้นตอนและวิธีการในการวิเคราะห์ความจ าเป็นใน
               การตรากฎหมายกฎหมาย (3.2) การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายและการวิเคราะห์ผลกระทบที่
               อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายจากกรณีศึกษา และ (3.3) ตัวอย่างการจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจ

               เกิดขึ้นจากกฎหมาย (Checklist)



               3.1 ขั้นตอนและวิธีการในการวิเคราะห์ความจ าเป็นในการตรากฎหมายกฎหมาย

                       จากการศึกษาการจัดท า RIA  ในหลายประเทศพบว่า แม้แต่ละประเทศจะมีวิธีการด าเนินการจัดท า
               RIA แตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์และข้อจ ากัดของแต่ละประเทศ แต่ส าหรับกรณีของประเทศไทย การ
               วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายเป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมาย

               และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 โดยหน่วยงานของรัฐต้องกระท าอย่างรอบด้านและเป็น
               ระบบ และให้น าผลการรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการพิจารณาวิเคราะห์ผลกระทบด้วย เมื่อด าเนินการ
               วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายแล้ว ให้จัดท าเป็นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
               จากกฎหมายตามแนวทางที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายก าหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่ง
                                                                                72
               อย่างน้อยการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายต้องประกอบด้วย  1) เหตุผลความจ าเป็นที่ต้อง
               ตรากฎหมายส าหรับการด าเนินการตามภารกิจนั้น 2) ความซ้ าซ้อนกับกฎหมายอื่น 3) สิทธิหรือเสรีภาพของ
               บุคคลที่ต้องถูกจ ากัด 4) ภาระหรืออุปสรรคต่อการด ารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพของประชาชน อัน
               เนื่องมาจากการมีกฎหมายนั้น 5) ผลกระทบต่องบประมาณ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม หรือผลกระทบอื่นที่

               ส าคัญ 6) เหตุผลความจ าเป็นในการใช้ระบบอนุญาต ระบบคณะกรรมการ หรือการก าหนดโทษอาญารวมทั้ง
               หลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 7) หน่วยงานผู้รับผิดชอบ จ านวนเจ้าหน้าที่ของรัฐ อุปกรณ์
               และงบประมาณที่ต้องใช้ในการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย และ 8) การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ (ถ้ามี)

                       ในปัจจุบัน คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย โดยอาศัยอ านาจตามความในมาตรา 7 และมาตรา 17
               แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562

               โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้ก าหนด “แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย”
               ขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
                                                         73
               จากกฎหมาย อันมีหลักเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ดังต่อไปนี้


               72
                  พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562, มาตรา 17.
               73
                  ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 132 ก ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562
   221   222   223   224   225   226   227   228   229   230   231