Page 228 - kpiebook65020
P. 228

189
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

               ค่าใช้จ่ายของประชาชนที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ส าหรับกรณีที่ผลกระทบนั้นอาจค านวณเป็นเงินได้และเป็น
               ร่างกฎหมายที่ลักษณะดังนี้ (1) ร่างกฎหมายที่ก าหนดให้บุคคลกระท าการใดเมื่อได้รับความยินยอม ก่อน

               กระท าการนั้น เช่น การอนุญาต การอนุมัติ การจดทะเบียน การขึ้นทะเบียน การรับแจ้ง การให้ประทานบัตร
                                                                                                  81
               และการให้อาชญาบัตร และ (2) ร่างกฎหมายอื่นตามที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายประกาศก าหนด
                              9) เมื่อส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาร่างกฎหมายแล้วเสร็จ ให้ปรับปรุง
               หรือแก้ไขรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายให้สอดคล้องกับร่างกฎหมายที่ผ่านการ
               ตรวจพิจารณา และเสนอไปพร้อมกับร่างกฎหมายและเอกสารอื่น ๆ เพื่อด าเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

               โดยส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะแจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ด าเนินการหรือร่วม
                           82
               ด าเนินการก็ได้
                       ทั้งนี้ แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายดังกล่าว ยังได้ก าหนด “แบบรายงาน
               การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย” เพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่ประสงค์จะเสนอร่างกฎหมาย

               น าไปจัดท าข้อมูลต่าง ๆ ตามแบบที่ก าหนด (สามารถดูแบบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาก
               กฎหมาย ได้ในภาคผนวก)



               3.2 ตัวอย่างการวิเคราะห์การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายจากกรณีศึกษาเรื่อง “การปล่อย
               เช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์ม (short-term rental)”

                       เพื่อให้ผู้ศึกษาได้สามารถน าองค์ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมายไปใช้ได้
               จริงในทางปฏิบัติ คณะที่ปรึกษาจึงได้น ากรณีศึกษาเรื่อง “การปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์ม (short-

               term  rental)”  ซึ่งได้รับการอนุเคราะห์การจัดท าข้อมูลกรณีศึกษาดังกล่าวจากกสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา

               ประเทศไทย (TDRI)มาใช้ในการเป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์ความจ าเป็นในการตรากฎหมาย โดยในหัวข้อนี้
               จะแบ่งเนื้อหาออกเป็นสองส่วนย่อยได้แก่ (1) ข้อเท็จจริง (Factsheet)  กรณีศึกษา  และ (2) แนวทางการ
               วิเคราะห์ความจ าเป็นในการตรากฎหมาย

                       3.2.1 ข้อเท็จจริงตามกรณีศึกษาเรื่อง “การปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์ม (short-term
                       83
               rental)”

                       ในปัจจุบัน แพลตฟอร์มส าหรับการเช่าที่พักระยะสั้น (short-term  accommodation  platforms)
               หรือที่เรียกว่า home  sharing  เป็นหนึ่งในธุรกิจรูปแบบใหม่ที่เชื่อมต่อบุคคลที่มีห้องหรือบ้านพักที่ว่าง และ
               ปล่อยเช่ารายวันแก่บุคคลที่ก าลังหาที่พักผ่านระบบแพลตฟอร์ม (platform) แพลตฟอร์มจะได้รับรายได้หรือ
               ค่าคอมมิชชั่นจากการเช่าที่พัก แพลตฟอร์มจองที่พักระยะสั้นที่รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากให้ทางเลือก




               81  แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ข้อ 8
               82
                  แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ข้อ 9
               83
                   สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) หลักสูตรวุฒิบัตรการ
               วิเคราะห์การตรากฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ส านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า,
               (2563).
   223   224   225   226   227   228   229   230   231   232   233