Page 227 - kpiebook65020
P. 227
188
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
1) ก่อนการเสนอให้มีการตรากฎหมาย ให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบความจ าเป็นในการตรา
กฎหมาย โดยวิเคราะห์สภาพปัญหาและเหตุผลที่รัฐควรเข้าไปแทรกแซง ในเรื่องนั้น และพิจารณาทางเลือก
ต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ ทั้งทางเลือกที่เป็นกฎหมายและไม่เป็นกฎหมาย โดยจะขอค าปรึกษาการด าเนินการดังกล่าว
ต่อคณะกรรมการพัฒนากฎหมายก็ได้ และเมื่อวิเคราะห์แล้วเห็นว่ามีความจ าเป็นต้องตรากฎหมาย ให้
หน่วยงานของรัฐวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย และจัดท าเป็นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ
74
ที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
2) การจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายหน่วยงานของรัฐต้อง
ใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย โดยอธิบายหรือน าเสนอข้อมูลอย่างกระชับ ครบถ้วน และตรงประเด็น และระบุข้อมูล
75
และข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบได้ ที่น ามาประกอบการวิเคราะห์ไว้ในรายงานด้วย
3) ในการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย หน่วยงานของรัฐ ต้องพิจารณาใน
เรื่อง ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อประเทศ สังคม หรือประชาชน ความพร้อมและต้นทุนของรัฐในการปฏิบัติตาม
และบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมหรือสุข
76
ภาวะ หรือผลกระทบอื่นโดยรวมที่ส าคัญประกอบด้วย
4) การวิเคราะห์ความพร้อมและต้นทุนของรัฐตามข้อ (3) ให้หน่วยงานของรัฐวิเคราะห์ต้นทุน
หรือค่าใช้จ่ายที่คาดว่าต้องใช้ในการปฏิบัติตามและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ในระยะ 3 ปีแรก โดยให้
77
แนบรายละเอียดการค านวณต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาด้วย
5) ให้หน่วยงานของรัฐเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายไปยัง
78
ส านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
6) ให้ส านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตรวจสอบความครบถ้วนของการด าเนินการตาม
ข้อ 1) ถึงข้อ 4) โดยหากเห็นว่ามีความจ าเป็นต้องด าเนินการในส่วนใดเพิ่มเติม ให้แจ้งหน่วยงานของรัฐเจ้าของ
79
เรื่องด าเนินการให้ครบถ้วน โดยให้ระบุเรื่องหรือประเด็นที่จะต้องด าเนินการให้ชัดเจน
7) ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติส่งร่างกฎหมายให้ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจ
พิจารณา ให้ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายและตรวจสอบการ
วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมทั้งตรวจสอบว่าการรับฟังความคิดเห็น
80
ครบถ้วนและครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องที่ต้องรับฟังหรือไม่
8) เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ส านักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกาอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องหรือหน่วยงานอื่นในการวิเคราะห์ต้นทุนหรือ
74
แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ข้อ 1
75 แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ข้อ 2
76 แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ข้อ 3
77
แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ข้อ 4
78
แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ข้อ 5
79
แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ข้อ 6
80
แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ข้อ 7